วัฒนธรรมโฮมสเตย์: การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กฤตยา เตยโพธิ์
พนัส โพธิบัติ

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวโฮมสเตย์เป็นการท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น น้ำตก ภูเขา วัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชนที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของชุมชนการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1)


ความเป็นมาของการจัดการการท่องเที่ยววัฒนธรรมโฮมสเตย์ 2) สภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ 3) การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมโฮมสเตย์ โดยชุมชนพื้นที่วิจัยคือ 3 ตำบลในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามด้วยวิธีการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน120 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า และเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า โฮมสเตย์ในพื้นที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 มีความเกี่ยวข้องกับคนในชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยววิถีการดำเนินชีวิตเป็นสังคมที่เรียบง่ายปลอดภัยมุ่งเน้นการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และท่องเที่ยวแบบสัมผัสธรรมชาติที่พักโฮมสเตย์ทั้งสามแห่งมีปัญหาด้านการสาธารณูปโภค สภาพแวดล้อมภายในบริเวณบ้านพัก การเดินทางควรได้รับการส่งเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปในทิศทางเดียวกันแนวทางการพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ระบบนิเวศรอบๆ อาณาบริเวณระบบน้ำประปา ไฟฟ้า ห้องน้ำ อาคารที่พักใช้ประโยชน์ ป้ายข้อมูล การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม


 

Article Details

บท
Articles (บทความ)
Author Biographies

กฤตยา เตยโพธิ์, นิสิตปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, โทรศัพท์ 08 9585 6194 Email: kittata56@gmail.com

นิสิตปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

38  หมู่ที่ 2  ตำบลตลาด  อำเภอเมืองนครราชสีมา  จังหวัดนครราชสีมา  30000

โทรศัพท์ 08 9585 6194 Email: kittata56@gmail.com

พนัส โพธิบัติ, อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติพ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.
Ministry of Tourism and Sports. (2011). National Tourism Development Plan 2012 - 2016. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). การพัฒนาท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประไทย.
Tourism Authority of Thailand. (1996). The Development of Tourism in a Sustainable Direction. (2nd ed.). Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.
Wanthanorm, Chantouch. (2009). Tourism Industry. Bangkok: Sarmlada.

ธัญญาลักษณ์ มีหมู่. (2552). ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมในเขตตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Meemoo, Tanyalak. (2009). The Potential and Management of Cultural Eco-Tourism in ThaHinNgom Sub-district, Muang District, Chaiyaphum. M.A Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล. (2553). การศึกษาศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน และบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. (รายงานวิจัยฉบับ สมบูรณ์โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากเครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง มหาวิทยาลัยหาดใหญ่). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Singhasaktrakoon, Parichat. (2010). The Study of Potential and the Development of Conservation Tourismfor Ban Thung Ma Prang Community, Khuan Don District and Ban Ton Panan Community, Khuan Kalong District, Satun. A Full Research Reports, Research and Innovation Project to Transfer Technology to the Southern part of the Southern Thailand’s Community Research Network, HatYai University. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

พรพิมล ปาฐะเดชะ. (2550). การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่หมู่บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ต จังหวังเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Pathadecha, Pornpimon. (2007). Homestay Tourism and Eco-tourism in Ban PasakNgam, Luang Nuea Sub-distric. DoiSaket District, Chiang Mai. M.A. Independent Study. Chiang Mai: Chiangmai University.

ลำยอง ปลั่งกลาง. (2551). “การศึกษาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนไทย – มุสลิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” วารสารสำนักงาน คณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ ฉบับสังคมศาสตร์, 40(2), 41-52.
Plangklang, Lamyorng. (2008). "The Study of Potential and the Community Participation in the Promotion and Development of Cultural Tourism: A Case Study of Thai - Muslim Community in Ayutthaya," Journal of the National Research Council of Thailand, the Social Sciences Edition, 40(2), 41-52.

วรรณพร วณิชชานุกร. (2548). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ สค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Wanitchanukorn, Wannaporn. (2005). The Development of Eco-tourism in Thailand. M,A. Thesis. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University.