ระบบการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัชนี เล่าโรจนถาวร
ดาลัดฌลา คุณสิริสิน
กรรณิการ์ มานะกล้า
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ระบบการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยตัวแปรอิสระ คือ ระบบการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO 5 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมของการควบคุม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล ตัวแปรตาม คือ ผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินที่วัดค่าโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 399 บริษัท และนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมภายในด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านกิจกรรมการควบคุม ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน ในขณะที่ด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผลไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่เป็น   ตัวเงิน ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวนั้นทำให้กิจการต้องให้ความสำคัญเรื่องระบบการควบคุมภายใน ทั้งในด้านของประสิทธิภาพการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของรายงานการเงิน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ เพราะหากกิจการมีการควบคุมภายในด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านกิจกรรมการควบคุมที่ดีแล้วย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในทางที่ดีด้วย

Article Details

How to Cite
เล่าโรจนถาวร ร., คุณสิริสิน ด., มานะกล้า ก., & อย่างกลั่น พ. (2022). ระบบการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 3(3), 13–24. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/256944
บท
บทความวิจัย

References

กัลณี ด่านทองหลาง. (2560). ผลกระทบของระบบการควบคุมภายในต่อผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระของหลักสูตรบัญชี มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ถนอมลักษณ์ คำแหงพล. (2559). องค์ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563 จาก https: //reg7.pwa.co.th/kmr7/?p=378.

ทรงเดช อินทรักษา, อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ และเชาว์ โรจนแสง. (2561). ระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายในสำหรับการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.บุรีรัมย์ จำกัด. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 (หน้า 339-346).

ธนพัฒน์ ขันกฤษณ์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการกรมการเงินทหารบก. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา(หน้า 776-787).

ปิญะธิดา อมรภิญโญ. (2560). การใช้การควบคุมภายในเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจการ ผลิตขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 186-204.

สราวุธ ดวงจันทร์ และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2561). ระบบการควบคุมภายในที่ดีและธรรมาภิบาลที่มีต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 895-913.

สุธิดา เสถียรมาศ. (2555). การศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์ในการดำเนินงานบุคลากรเป็นผู้ประกอบการและการให้ความสำคัญในหน้าที่ทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ SMEs. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563 จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20190909095851.pdf.

Kotze, R.S. (2006). Performance: The secrets of successful behaviour. Pearson Education.

Ramsey, P. (2008). Learning and Performance: Rethinking the Dance Chapter. Learning and Performance Matter, 3.