การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับแบบออนไลน์และแบบออนไซต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านอัญมณีและเครื่องประดับแบบออนไลน์กับแบบออนไซต์ ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) สื่อความรู้สําหรับการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ และ 2) แบบทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความรู้ทั่วไปด้านอัญมณีและเครื่องประดับ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์อัญมณี 3. โลหะที่นิยมใช้ในการทำเครื่องประดับ 4. การประเมินคุณภาพเพชร ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านอัญมณีและเครื่องประดับแบบออนไซต์สูงกว่าแบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) กิจกรรมการเตรียมความพร้อม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.9/93.2 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ดัชนีประสิทธิผลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ มีค่าเท่ากับ 0.85
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
จิณณา ผลดี. (27 กรกฎาคม 2565). การเรียนออนไลน์และเรียนในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างไร. รู้งี้ Edutainment. https://ruungi.com/online-onsite-class/
จีรวรรณ สรบุญทอง, บุษบา บัวสมบูรณ์ และ กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกู. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1), 89-105.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน และความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี.
ณัฐธนากร รักชาติ และสุชาวดี เกษมณี. (2564) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ กับการจัดการเรียนการรู้แบบออนไซต์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 81-90.
ณรงค์กร สุทธิศักดา. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เรื่องการสร้างเว็บเพจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียน ออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 4(1), 652-666.
นฤมล ฉันทมิตร. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต, 27(1), 144-163.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. (2558). ความพึงพอใจในการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษใน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 8(3). 1023-1036.
สมรัก บูรณะ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนตามปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารรามคำแหง, 27(3), 286-298.
เสาวลักษ์ รักชอบ. (2560). การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (รายงานการวิจัย). คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
Goodman, R. I., Fletcher, K. A., & Schneider, E. W. (1980). The effectiveness index as a comparative measure in media product evaluations. Educational Technology, 20(9), 30-34.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.