ศักยภาพการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกบัวของเกษตรกรใน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ประสงค์ อุทัย
วัฒนา เอกปมิตศิลป์
บดินทร์ชาติ สุขบท
สมบัติ ทีฆทรัพย์
ศรัญญา แจ้งขำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกบัวและทดสอบความแตกต่างระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอ จังหวัดนนทบุรี วิธีการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัย คือ ประชากรที่มีในอำเภอบางใหญ่ทั้งหมด จำนวน 147,351 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า วิธีการปลูกบัวอยู่ในระดับปลานกลาง คิดเป็นร้อยละ  47.80 การทำบัญชีรายได้จากการปลูกบัวส่วนใหญ่มีความรู้มาจาก ผู้นำชุมชน/ตัวแทนชุมชน คิดเป็นร้อยละ 37.00 วัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีต้นทุน-รายได้ในการปลูกบัวเพื่อเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในผลตอบแทนที่จะได้รับมากที่สุด ร้อยละ 40.50 การจัดทำบัญชีต้นทุน-รายได้ในการปลูกบัวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงมีความคิดเห็นที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 46.80 การจัดทำบัญชีทำให้รู้ถึงต้นทุนในการปลูกบัวแต่ละครั้งมีความคิดเห็นที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 38.80 ผลการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกบัวของเกษตรกร  พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
อุทัย ป., เอกปมิตศิลป์ ว., สุขบท บ., ทีฆทรัพย์ ส., & แจ้งขำ ศ. (2021). ศักยภาพการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกบัวของเกษตรกรใน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 3(2), 29–38. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/254503
บท
บทความวิจัย

References

จรินทร นามขาน และสุรีรัตน์ สหุนาฬุ. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำนาบัวตัดดอก: กรณีศึกษาตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2, 30 พฤศจิกายน 2561 (หน้า 146 – 154). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพ.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน.กรุงเทพมหานคร. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจํากัด (มหาชน).

ฐิติมา ทับอาษา, ศุภชัย พันธ์ตู้, อัญณิภา ห้าวหาญ, ชลธิชา อินไชยา และหยาดรุ้ง มะวงศ์ไว. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตบัวฝักของเกษตรกรในจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 46(ฉบับพิเศษ 1).

ดวงรัตน์ กาญจนเจริญ. (2533). ต้นทุนผลตอบแทนจากการทํานาบัวตัดดอก. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทศบาลตําบลคลองโยง. (2560). ข้อมูลเทศบาลตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563 จาก www.khlongyong.go.th/about.

ปิยะราช เตชะสืบ. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุน โครงการปลูกผักกุยช่ายปลอดสารพิษเพื่อการค้าในจังหวัดลําปาง. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
เนชั่น.

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2559). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดกาญจนบุรี. รายงานการวิจัย,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2554). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ สุขเจริญ. (2548). ต้นทุน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563 จาก www.it.nation.ac.th/research/ntu/files/5601131023221f.pdf.

วิฑูรย์ ปัญญากุล และเจษณี สุขจิรัติกาล. (2546). สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย เกษตรอินทรีย์โลก. กรุงเทพฯ : ที จี ซี พริ้นติ้ง.

สุขใจ ตอนปัญญา. (2554). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกรหมู่ 5 ตําบลหัวดง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภาวดี ทองขุนจันทร์. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนกะหล่ำปลีของเกษตรกรลาวภายใต้ข้อตกลงการผลิตในระบบพันธะสัญญาไทย-ลาว. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อัจฉรา กลิ่นจันทร์. (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวอินทรีย์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.