ความภักดีของผู้บริโภคในการตัดสินใจมาใช้บริการซ้ำร้านกาแฟพรีเมียม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สราวุธ โตอนันต์
ดารารัตน์ สุขแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟพรีเมียมของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับไปใช้บริการซ้ำในร้านกาแฟพรีเมียม ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จาก แบบจำลองดัชนีความพึงพอใจลูกค้าแบบอเมริกัน การสื่อสารปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ โอกาสการกลับการใช้บริการซ้ำ วิธีการสำรวจใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 404 คน จากผู้บริโภคร้านกาแฟพรีเมียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อตอบแบบสอบถามและแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นตรง ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคของร้านกาแฟพรีเมียม พบว่า ประกอบด้วย ภาพลักษณ์ ความคาดหวัง มุมมองคุณค่า และ มุมมองคุณภาพ (2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำในร้านกาแฟพรีเมียม ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความภักดี ดังนั้นธุรกิจร้านกาแฟพรีเมียม ควรมุ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อให้ผู้บริโภคพึงพอใจ  และเมื่อผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และบอกต่อ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีและกลับมาใช้บริการซ้ำเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
โตอนันต์ ส., & สุขแก้ว ด. (2023). ความภักดีของผู้บริโภคในการตัดสินใจมาใช้บริการซ้ำร้านกาแฟพรีเมียม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 5(3), 41–53. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/269061
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). ธุรกิจผลิตกาแฟ บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน ตุลาคม 2565. https://datawarehouse.dbd.go.th/index.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). นโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์ โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ใน (นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต), แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (1-24) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

จีระศักดิ์ คาสุริย์. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร.

ปิยาภรณ์ แจงจำรัส. (2560). คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งผลต่อความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำร้านโจนส์ สลัด (รายงานการค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เมขลา สังตระกูล. (2557). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุภาวดี ดวงทอง. (2559). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าบริษัท พัฒน์พลัส จํากัด (คอลลี่ คอลลาเจน) (รายงานการค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เหว่ยชิ เชน. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ ความไว้วางใจ และความผูกพันออนไลน์ต่อตราสินค้าสตาร์บัคส์ (สารนิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ehrenberg, A. S. C. (1972). Repeat-buying; Theory and application. London Business School and Stern School NYU.

Fornell, C., Johnson, M. D., Anderson, E. W., Cha, J., & Bryant, B. E. (1996). The American Customer Satisfaction Index: Nature, purpose, and findings. Journal of Marketing, 60(4), 7–18.

Hair, J. F., Black, W.C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Lee, H. J. (2022). A Study on the effect of customer habits on revisit intention focusing on franchise coffee shops. MDPI journals, 13(2), 86.

Pesoa, J. A., Kristyanto, B., & Dewa, P. K. (2021). Customer loyalty in coffee shop: Literature review and condition for the future. International Journal of Industrial Engineering and Engineering Management (IJIEEM), 12, 72.

Khadka, K., & Maharjan, S. (2017). Customer satisfaction and customer loyalty. Centria University of Applied Sciences.

Xin, Y. (2009). Linear Regression Analysis: Theory and computing. World Scientific. pp. 1-2. https://www.pdfdrive.com/ linear-regression-analysis-e2065764.html