เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจจากการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ ของผู้บริโภค เพื่ออรรถประโยชน์เทียบกับสุนทรียะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

นฤมล จั่นวิลัย
ดารารัตน์ สุขแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจตามจุดประสงค์การบริโภคในการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจตามลักษณะประชากรศาสตร์ ในการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากแบบจำลองดัชนีความพึงพอใจ ใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 409 คน จากผู้ใช้บริการร้านกาแฟคาเฟในสถานีบริการปั๊มน้ำมัน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อตอบแบบสอบถามโดยใช้การวิเคราะห์ตัวแปรทวินามทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจตามจุดประสงค์การบริโภคในการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ พบว่า ผู้บริโภคมีจุดประสงค์การบริโภคเพื่อสุนทรียะและให้ความสำคัญในทุกปัจจัยมากกว่าจุดประสงค์การบริโภคเพื่ออรรถประโยชน์ และ (2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจตามลักษณะประชากรศาสตร์ในการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความคาดหวัง มุมมองคุณภาพ มุมมองคุณค่า ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจ ดังนั้น ผู้ประกอบการ จึงควรให้ความสำคัญด้านสุนทรียะเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และหน่วยงานสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค รูปแบบสินค้ารวมถึงการตกแต่งร้านที่สวยงามและร่มรื่นควรมีความเสมือนจริงกับภาพที่ประชาสัมพันธ์ คุณภาพสินค้ามีมาตรฐานความเหมาะสมกับราคา

Article Details

How to Cite
จั่นวิลัย น. ., & สุขแก้ว ด. (2024). เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจจากการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ ของผู้บริโภค เพื่ออรรถประโยชน์เทียบกับสุนทรียะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 6(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/269997
บท
บทความวิจัย

References

จิธญา ตรังคิณีนาถ, นฤมล ลาภธนศิริไพบูลย์, ยลชนก ขวดพุทรา และปาณิศา วิชุพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภค. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 3(1), 41-53.

จีระศักดิ์ คาสุริย์. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร.

ชนิดา รัตนชล. (2562). ความต้องการสวัสดิการตามเจเนอเรชั่นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฐานมาศ ยศเสือ. (2564). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อความคาดหวังในส่วนประสมทางการตลาดบริการของร้านคาเฟ่สุนัขในจังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติวัฒน์ พันธ์รุ่งจิตติ. (2559). พฤติกรรมและปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารเสริมประเภทวิตามินและเกลือแร่ของกล่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เทพวิษณุ สุขสำราญ, มาเรียม นะมิ และอัมพล ชูสนุก. (2559). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ด้านราคา และคุณค่าที่รับรู้ด้านอารมณ์ต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจของลูกค้า การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซีเนม่า ซิตี้ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 11(1), 1-15

นิราภร คำจันทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. http://ir.mju.ac.th/dspace/bitstream/123456789/757/1/6106401025.pdf.

พิมพ์นิภา อริยะวิทย์. (2560). การศึกษาผลกระทบของแรงจูงใจด้านสุนทรียะและด้านอรรถประโยชน์ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคไทย ในกลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกัน. (รายงานการค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตนชัย ม่วงงาม.(2566). ส่อง-5-ร้านกาแฟดังในปั๊มน้ำมัน-แบรนด์ไหนเป็นของใคร. ThaiSMEsCenter. https://www.thaismescenter.com/

สุรพงษ์ วรรธนะกุล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ความตั้งใจกลับมาใช้บริการ และการสื่อสารแบบปากต่อปากทาง อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าที่มีต่อร้านอาหารไผ่ขวาง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุณีย์ ตันตินพเก้า. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าใช้บริการร้านกาแฟในรูปแบบคาเฟ่ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (รายงานบทความ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อนันตญา ประยูรรักษ์. (2559). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวปี พ.ศ. 2559 กรณีศึกษา ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Batra, R. & Ahtola, O. T. (1991). Measuring the hedonic and utilitarian sources of consumer attitudes. Marketing letters, 2(2), 159-170.

Corona, V., Cruz, L. V. D. L., Lujan-Moreno, G. A., Albors-Garrigos, Jose., Segovia, P. G. & Rojas, O. G. (2020). Sensory expectations from aesthetic perceptions of coffee beverages presented in different mugs. Journal of Culinary Science & Technology, 20(2), 213-238. https://doi.org/10.1080/15428052.2020.1824834

Fornell, C., Johnson, M. D., Anderson, E. W., Cha, J., & Bryant, B. E. (1996). The American customer satisfaction, index: Nature, purpose, and findings. Journal of Marketing, 60, 7-18. https://www.jstor.org/stable/1251898

Hirschman, E. C., & Holbrook, M. B. (1982). Hedonic consumption: emerging concepts, methods and propositions. Journal of marketing, 46(3), 92-101.

Reid, M., Thompson, P., Mavondo, F., & Brunsø, K. (2015). Economic and utilitarian benefits of monetary versus non-monetary in-store sales promotions. Journal of Marketing Management, 31(3-4), 247-268.