ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้า อ. บางคล้า จ. ฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการซื้อ,, สินค้า OTOP,, ตลาดน้ำบางคล้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า 2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า ส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้า OTOP ประเภทอาหาร รองลงมาคือ เครื่องดื่ม ส่วนใหญ่ซื้อสินค้า OTOP เพื่อใช้เองส่วนตัว รองลงมาคือ ต้องการอุดหนุนสินค้า OTOP ส่วนใหญ่ไปซื้อสินค้า OTOP ที่ตลาดน้ำบางคล้า ในวันเสาร์-อาทิตย์ รองลงมาคือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนลักษณะการซื้อสินค้า OTOP ส่วนใหญ่ซื้อทันทีเมื่อเห็นสินค้า รองลงมาคือ ใช้เวลาตัดสินใจภายใน 1 วัน สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ โดยพบว่านักท่องเที่ยวให้ความสำคัญปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ ชื่อเสียงของผู้ผลิต/แหล่งผลิต ให้ความสำคัญปัจจัยด้านราคามากที่สุดคือ ราคาผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ให้ความสำคัญปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมากที่สุดคือ การบริการของพนักงาน และให้ความสำคัญปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายมากที่สุดคือ ความสะดวกในการหาซื้อ
References
ชัยฤทธิ์ ทองรอด และวราภรณ์ สารอินมูล. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), หน้า 197-210.
ณภัทร อัครปัณณกูร และณักษ์ กุลิสร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและของที่ระลึก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(1), หน้า 48-66.
ทัศนา หงษ์มา. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
วริษฐา กิตติกุล และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝากสินค้าบริโภคในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562 (หน้า 922-936). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิไลวรรณ ศิริอำไพ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง (ถนนคนเดินตรอกโรงยา) จังหวัดอุทัยธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สวนีย์ จินดาวงศ์. (2558). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เสน่ห์ ซุยโพธิ์น้อย. (2561). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ้าไหมปักธงชัยของประชากร จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา.
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.chachoengsao.go.th/cco/images/plan/plan_ccs65.pdf [2563, 25 มีนาคม].
_______. (2563). อำเภอบางคล้า (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.chachoengsao.go.th/cco/ [2563, 20 มีนาคม].
สำนักงานเทศบาลตำบลบางคล้า. (2563). ความเป็นมาตลาดบางคล้า (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkhla.go.th/index.php?op=staticcontent&id=2595 [2563, 20 มีนาคม].
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2558). คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่ ประจำปี 2558 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER091/GENERAL/DATA0000/00000183.PDF [2563, 20 มีนาคม].
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York, NY: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี