บทบาทของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินต่อการป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุ

ผู้แต่ง

  • ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ทรัพยากรบุคคล,, อากาศยาน,, อุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักการสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบิน (crew resource management: CRM) รวมถึงบทบาทของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินต่อการลดอากาศยานอุบัติเหตุ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติงานของลูกเรือ โดยจากสถิติของการเกิดอุบัติเหตุทางการบิน พบว่ามากกว่าร้อยละ 70.00 มีสาเหตุโดยตรงมาจากความผิดพลาดของมนุษย์ (human error) ดังนั้น การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันความผิดพลาดของมนุษย์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงการเกิดข้อผิดพลาดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสในการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ จากการวิจัยพบว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินช่วยลดความผิดพลาดจากมนุษย์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการฝึกอบรมในหลักสูตรการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานร่วมกันของลูกเรือ ลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และลดโอกาสในการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุได้

Author Biography

ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

References

บุษกร ภมร. (2551). จิตวิทยาการบิน: การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562. (2562, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอนที่ 68ก), หน้า 58-146.
วธัญปวีณ์ ชัยธัญวิวัฒน์. (2559). อุบัติเหตุเครื่องบินกับธุรกิจการบิน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมร แสงสุพรรณ และนิรันดร พิเดช. (2551). จิตวิทยาการบิน: ธรรมชาติความผิดพลาดของมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Diehl, A. (1991). The effectiveness of training programs for preventing aircrew “error”. In R. S. Jensen (Ed.), Proceedings of the 6th International symposium on aviation psychology (pp. 640-655). Columbus, OH: The Ohio State University.
European Aviation Safety Agency (EASA). (2018). Annual safety review 2018 (Online). Available: https://www.easa.europa.eu/sites/default/files/dfu/218346_EASA_ASR_2018_SUMMARY.pdf [2019, December 21].
Helmreich, R. L., & Foushee, H. C. (2010). Chapter 1: Why CRM? Empirical and theoretical bases of human factors training. In Barbara G. Kanki, Robert L. Helmreich, & José Anca (Eds.),
Crew resource management (pp.3-57). Cambridge, MA: Elsevier Academic Press.
International Air Transport Association (IATA). (2019). IATA safety fact sheet 2019 (Online). Available: https://www.iata.org/contentassets/928a418fcf4c420fa62e198df1d39335/fact-sheet-safety.pdf [2019, December 22].
International Civil Aviation Organization (ICAO). (2019). State of global aviation safety: ICAO safety report 2019 edition (Online). Available: https://www.icao.int/safety/Documents/ICAO_ SR_2019_final_web.pdf [2019, December 21].
Kayten, P. J. (1993). The accident investigator's perspective. In E. L. Wiener, B. G. Kanki, & R. L. Helmreich (Eds.), Cockpit resource management (pp. 283–314). Washington, DC: American Psychological Association.
O’Connor, Paul, et al. (2008). Crew resource management training effectiveness: A meta-analysis and some critical needs. International Journal of Aviation Psychology, 18(4), pp. 353-368.
Tullo, Frank J. (2010). Chapter 2: Teamwork and organizational factors. In Barbara G. Kanki, Robert L. Helmreich, & José Anca (Eds.), Crew resource management (pp.59-78). Cambridge, MA: Elsevier Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30