อิทธิพลของอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านสังคมของกลุ่มวัยรุ่น : กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่น กรณีศึกษานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง คือ นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกชั้นปี ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 376 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า อิทธิพลของการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นมีผลต่อพฤติกรรมทางด้านการศึกษา มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียน เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลในการทำงาน ค้นหาข้อมูลแทนการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด ด้านการติดต่อสื่อสาร มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักศึกษาใช้อีเมล์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาจากเว็บไซต์แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อส่งการบ้าน รายงาน ในรูปแฟ้มข้อมูล ใช้เว็บบอร์ดต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็น ใช้ในการติดต่อกับเพื่อน และเพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวทางวิชาการ และยังมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ระดับมาก คือ นักศึกษาใช้อีเมล์ในการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลและบริการยืมหนังสือของห้องสมุด ใช้บริการเว็บบอร์ดต่าง ๆ ในการตั้งกระทู้ต่าง ๆ ที่สนใจ ด้านความบันเทิง มีผลเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการติดตามหรืออ่านข่าวสาร บันเทิง นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการเล่นเกมส์ออนไลน์ ใช้เป็นสื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อกับกลุ่มเพื่อน ใช้ในการดาวน์โหลด เพลงหรือภาพ ด้านความเสี่ยงทางสังคม มีผลเฉลี่ยรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการหาคู่ ใช้เพื่อการกู้ยืมเงินออนไลน์ ใช้เพื่อเล่นเกมส์การพนัน ใช้เพื่อเข้าชมเว็บล่อแหลมอื่น ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kittiphong, T. (2017). Internet use and information behavior of Burapha University students [Master's thesis, Burapha University].
Department of Children and Youth. (2020). Internet use behavior of children and youth: A report on the survey of children and youth's opinions. Retrieved May 10, 2022, from https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1653283114029-672024637.pdf
Chuaypen, P., Kongprapan, N., & Phewpak, S. (2020). Internet use behavior of students at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. Journal of Arts, E-ISSN: 2730-1982, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.
Khempanya, P. (2021). Internet use behavior of upper secondary school students in Nakhon Phanom Municipality. Nakhon Phanom University Journal, Special Issue, 25th Nursing Conference.
Electronic Transactions Development Agency. (2020). Thailand internet user behavior 2020. Retrieved May 8, 2022, from https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet- User-Behavior-2020.aspx
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Page 22. New York: W.H. Freeman.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement.
Freud, S. (1964). Group Psychology and The Analysis of The Ego Sigmund Freud. New York: Bantam Books.
Nielsen, (2021). Nielsen Research: DOOH Engages Consumers and Drives Activations., https://www.marketingcharts.com/charts/nielsen-global-online-consumer-advertising-trust-top-bottom-five-markets-jpg/page/6?et_blog
Skinner, B.F. (1990). Science and Human Behavior. New York: Macmillan.
Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York : Harper and Row.