การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและพัฒนาระบบบริหารจัดการ สู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว 400 ชุด ด้วยการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมาย 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ทั้งในพื้นที่ทะเลน้อย พื้นที่เกาะหมาก และพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา อยู่ในระดับมาก มีการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาได้เป็นอย่างดี 2) การพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ควรมีมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าพื้นที่หรือกำหนดระยะเวลาในการเข้าพื้นที่ประกอบกิจกรรม จัดให้มีห้องน้ำที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ จัดเตรียมพื้นที่สาธารณะและที่นั่งพักให้เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและใช้เวลากับแหล่งท่องเที่ยวได้นานขึ้น จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และจัดให้มีกล้องวงจรปิดครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Marine and Coastal Resources. (2023). Knowledge Management Department of Marine and Coastal Resources. Retrieved 7 May 2023, from https://km.dmcr.go.th/c_218/s_462. (in Thai)
Meaunsung, K. (2014). The Guidelines for Developing Participatory Tourism: A case study of Thale Noi
bird Park, Phatthalung Province (Doctoral Thesis). Songkhla: Songkhla Rajabhat University. (in Thai)
Ngamyingyong, N. & Silanoi, L. (2017). Guidelines for sustainable tourism development in communities along the canal Damnoen Saduak in Samut Sakhon and Ratchaburi provinces. Journal of Dusit Thani College, 11(1), 158.
Sangkakorn, A., Boonyanupong, S., Teainsiri, J., Pumlek, K., Jeerat, K. & Nakaket, P. (2012). Slow Tourism Management for Elderly Tourists in Upper Northern. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University. (in Thai)
Sangpikul, A. (2013). Research Regulations in Tourism and Hotel Management. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Suttipakorn, W. (2007). Conservation of Thai natural resources Songkhla Lake Basin. Songkhla:
Songkhla Rajabhat University. (in Thai)