การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word (บันทึกไฟล์ .docx หรือ .doc) ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK เท่านั้น
  • ปรับรูปแบบและการอ้างอิงบทความให้เป็นไปตามที่วารสารกำหนด
  • บทความมีชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และบทคัดย่อ,คำสำคัญ, ชื่อผู้แต่ง และ สังกัดผู้แต่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หัวข้อเนื้อหา องค์ประกอบข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • เอกสารที่จะต้องอัปโหลดส่งในระบบ
    1. ไฟล์ใบสมัครของส่งบทความลงตีพิมพ์วารสาร ที่ได้กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว
    2. ไฟล์บทความ
    3. ไฟล์ผลการตรวจอักขราวิสุทธิ์ หรือ เทิร์นอิทอิน (turnitin) ที่มีผลการซ้ำซ้อนไม่เกินร้อยละ 17

คำแนะนำผู้แต่ง

สำหรับผู้เขีบนที่มีความประสงค์ส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
1. วารสารเปิดรับพิจารณาบทความจากทุกหน่วยงาน/สังกัด ทั้งภายนอกและภายใน ที่เป็นบทความด้านศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ที่กำหนดไว้ และยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. ต้องเป็นบทความที่ปรับรูปแบบบทความ และรูปแบบการอ้างอิง ให้เป็นไปตามแบบฟอร์มของวารสารฯ กำหนดเท่านั้น
3. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มสำเร็จรูป และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อพิมพ์ข้อความลงไปในไฟล์ที่จัดหน้าให้เรียบร้อยแล้วได้ที่
    - แบบฟอร์มเสนอบทความ (ใบสมัครส่งบทความ) ดาวน์โหลด
    - แบบฟอร์มการเขียนบทความ ดาวน์โหลด
    - หลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความ ดาวน์โหลด
    - หลักเกณฑ์การอ้างอิงและการเขียนรายงานอ้างอิง ดาวน์โหลด
4. ในการส่งบทความเข้าระบบ ต้องเป็นไฟล์ Microsoft Word (บันทึกไฟล์ .docx หรือ .doc) ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK เท่านั้น แล้วส่งผ่านระบบวารสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/arts/index

1. การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความ ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-Date Citation System) โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้

1.1 ผู้แต่ง 1 คน

                     อ้างอิงหน้าข้อความ        ชื่อ/สกุล/(ปีพิมพ์)

                     อ้างอิงท้ายข้อความ        (ชื่อ/สกุล,/ปีพิมพ์)

          ตัวอย่าง

                     มาโนช บุญทองเล็ก (2560) ได้ศึกษาเรื่อง..........ได้ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในรูปแบบวิถีใหม่ (ริสสวัณ อรชุน, 2564)

1.2 ผู้แต่ง 2 คน

                     อ้างอิงหน้าข้อความ        ชื่อ/สกุล/และ/ชื่อ/สกุล/(ปีพิมพ์)

                     อ้างอิงท้ายข้อความ        (ชื่อ/สกุล/และ/ชื่อ/สกุล,/ปีพิมพ์)

          ตัวอย่าง

                     ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ และ สวธา เสนามนตรี (2559) กล่าวถึง..........การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์สามารถตอบโจทย์การพัฒนาผู้เรียนได้ในยุคปัจจุบัน (สุชีรา อินทโชติ และ ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์, 2564)

1.3 ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป

                     อ้างอิงหน้าข้อความ        ชื่อ/สกุล/และคณะ/(ปีพิมพ์)

                     อ้างอิงท้ายข้อความ        (ชื่อ/สกุล/และคณะ,/ปีพิมพ์)

          ตัวอย่าง

                     พิสิษฐ์ บัวงาม และคณะ (2561) กล่าวถึง..........การแสดงโขนจัดเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทยที่มีหลักฐานปรากฎในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โสฬส มงคลประเสริฐ และคณะ, 2559)

2. การอ้างอิงมากกว่าสองแหล่งข้อมูล ให้เขียนเรียงตามลำดับอักษร ดังนี้

          สอดคล้องกับผลการศึกษาของกัญชพร ตันทอง (2562) และ อาทิตยา เงินแดง (2556) ได้กล่าวว่า..........สามารถนำไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป (บรรทม น่วมศิริ, 2560; สุภาสิรีร์ ปิยะพิพัฒน์)

3. การอ้างอิงจากข้อมูลจากแหล่งข้อมูลระดับทุติยภูมิ

                     อ้างอิงหน้าข้อความ งานของผู้เขียน (1) ถูกอ้างอยู่ในงานของผู้เขียน (2) ชื่อ1/สกุล1/(ปีพิมพ์,/อ้างถึงใน/ชื่อ2/สกุล2,/ปีพิมพ์).....

                     ตัวอย่าง

                               ยิ่งศักดิ์ ชุ่มเย็น (2560, อ้างถึงใน สมาน น้อยนิตย์,2556) กล่าวว่า.....อ้างอิงท้ายข้อความ งานของผู้เขียน (1) ถูกอ้างอยู่ในงานของผู้เขียน (2)  (ชื่อ1/สกุล1,/ปีพิมพ์/อ้างถึงใน/ชื่อ2/สกุล2,/ปีพิมพ์).....

                     ตัวอย่าง

                               .....สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความไม่แน่ใจ และเกิดปัญหาในการสร้างอัตลักษณ์เพราะขาดผู้แนะนำแนวทางที่ถูกต้อง และมีความสับสนในการรับรู้เรื่องอัตลักษณ์ (เจษฎา กรวยสูงเนิน, 2564 อ้างถึงใน บุญสืบ เรืองนนท์, 2559)

4. อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์

          การเขียนอ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ กรณีไม่มีการเผยแพร่เป็นสาธารณะ ให้เขียนอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้นโดยไม่ต้องใส่เป็นรายการอ้างอิงท้ายเล่ม

                     อ้างอิงหน้าข้อความ        ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์/สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์/(สัมภาษณ์,/วัน/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์)

                     อ้างอิงท้ายข้อความ        (ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์/สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์,/สัมภาษณ์,/วัน/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์)

          ตัวอย่าง

                     ชวลิต สุนทรานนท์ (สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2564) กล่าวว่า..........(คำรณ สุนทรานนท์, สัมภาษณ์, 5 ธันวาคม 2561)

2. การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้

2.1 หนังสือทั่วไป

          1) ผู้แต่ง 1 คน

                     ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์[1])./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่ ใส่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สำนักพิมพ์.[2]

                     ตัวอย่าง

                               ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2564). โขนวิทยา: ศาสตร์ ศิลป์ ถิ่นสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

          2) ผู้แต่ง 2 คน

                     ชื่อ/สกุล/และ/ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่ ใส่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./////////สำนักพิมพ์.

                     ตัวอย่าง

                               ศศิลักษณ์ ขยัยกิจ และ บุษบง ตันติวงศ์. (2559). การประเมินอย่างใคร่ครวญต่อเด็กปฐมวัย: แนวคิดและการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

           3) ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อทุกคน *ในกรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 21 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อและสกุลของผู้แต่งคนที่ 1-19 ตามด้วยเครื่องหมาย ,... ก่อนชื่อคนสุดท้าย

                     ชื่อ1/สกุล1,/ชื่อ2/สกุล2,/และ/ชื่อ3/สกุล3./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่ ใส่ครั้งที่ 2////////เป็นต้นไป)./สำนักพิมพ์.

                     ตัวอย่าง

                               พชร สันทัด, สุรชาติ ณ หนองคาย, และ สมาน งามสนิท. (2557). ศาสตร์และศิลป์การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สมาคมส่งเสริมคุณธรรม.

2.2 หนังสือแปล

                     สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่องภาษาต้นฉบับ/[ชื่อหนังสือภาษาไทย]/////////(พิมพ์ครั้งที่ ใส่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สำนักพิมพ์.

                     ตัวอย่าง

                               ฮอว์คิง, เอส. (2552). The illustrated: A brief history of time [ประวัติย่อของการเวลาฉบับภาพประกอบ] (พิมพ์ครั้งที่ 7). มติชน.

2.3 บทความในวารสาร/จุลสาร

                     ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/////////เลขหน้า.

                     ตัวอย่าง

                               สิริฉันท์ สถิรกุล. (2540). สอนวิชาธุรกิจในระดับมัธยมศึกษาอย่างไรจึงจะจูงใจผู้เรียน. วิทยาจารย์, 95(1), 91-94.

2.4 หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์

                               ชื่อ/สกุล./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า./URL (ถ้ามี)

                     ตัวอย่าง

                               พงษ์พรรณ บุญเลิศ. (2561, 15 สิงหาคม). เดลินิวส์วาไรตี้: ‘สื่อพิพิธภัณฑ์’เชื่อมยุคสมัย เข้าถึงด้วย ‘มิติใหม่’ อินเทรนด์. เดลินิวส์, 4. http://lib.edu.chula.ac.th/fileroom/cu_formclipping/drawer006/general/data0013/00013005.pdf

2.5 วิทยานิพนธ์

                               ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ////////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

                     ตัวอย่าง

                               รณชัย ศิลากร. (2547). ผลของโครงการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นตามทฤษฎีของมาสโลว์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2.6 รายงาน

                     2.6.1 รายงานที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือองค์การอื่น ๆ

                               ชื่อหน่วยงาน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)

                     ตัวอย่าง

                               สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). รายงานประจำปี 2561.  21 เซ็นจูรี่.https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc_annual_re port_2561.pdf

                     2.6.2 รายงานที่จัดทำโดยผู้เขียนรายบุคคลสังกัดหน่วยงานของรัฐหรือองค์การอื่น ๆ

                               ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)

                     ตัวอย่าง

                               สุมาลี ตังคณานุรักษ์, อรทัย วิมลโนธ, และ เกรียงไกร นะจร. (2559). การวิจัยและพัฒนา รูปแบบเพื่อการพัฒนาความรับผิดชอบ การควบคุมและความมีวินัยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 2.7 เอกสารประกอบการประชุม/การประชุมวิชาการ

                               ชื่อ/สกุล./(ปีที่นำเสนอ)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อหัวข้อการ

////////ประชุม./ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./ฐานข้อมูล.

                     ตัวอย่าง

                              พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศ มาเลเซียและสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย. ใน ศิริชัย กาญจนวาสี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ ผลงานวิจัยระดับชาติ (น. 97-102).คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2.8 เอกสารประกอบการเรียน

                               ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อเอกสาร./คณะ,/มหาวิทยาลัย.

                     ตัวอย่าง

                               อัญญมณี บุญซื่อ. (2556). การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็ก

ปฐมวัย. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2.9 เว็บไซต์

                               ชื่อ/สกุลผู้เขียน./(ปี,วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

                     ตัวอย่าง

                               เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2554, 27 เมษายน). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา.

จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia). http://www.chulapedia.chula.ac.th/ index.php?title=การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา

2.10 ราชกิจานุเบกษา

                               ชื่อกฎหมาย./(ปี,/วัน/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เล่ม/เลขเล่ม/ตอนที่/เลขตอน./////////หน้า/เลขหน้า.

                     ตัวอย่าง

                               พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 33 ก. หน้า 1-18.

3. วิธีการจัดเรียงรายการอ้างอิง

3.1 การเรียงตาลำดับอักษร

                     ภาษาไทย         ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยเรียงตามรูปพยัญชนะ ก-ฮ ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกันให้เรียงตามรูปสระ ดังนี้ อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ

                     ภาษาอังกฤษ     ใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำใน Dictionary โดยเรียง A-Z

3.2 การเรียงลำดับงานหลายงานที่มีชื่อผู้แต่งคนแรกชื่อคนเดียวกันโดยจัดเรียงตามปีที่พิมพ์

                     ตัวอย่าง

                               เพ็ญพรรณ เจริญพร. (2548).

                               เพ็ญพรรณ เจริญพร. (2550).

                               Cabading, J. R., & Wright, K. (2000).

                               Cabading, J. R., & Wright, K. (2001).

ถ้าในกรณีที่ผู้แต่งที่แตกต่างกัน ให้จัดเรียงตามงานที่มีชื่อผู้แต่งคนเดียวกันมาก่อนงานที่มีชื่อผู้แต่งอื่นร่วม

                     ตัวอย่าง

                     ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2550).

                     ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และ พิรุณ อนวัชศิริวงศ์. (2552).

                     Alleyne, R. L. (2001).

                     Alleyne, R. L., & Evans, A. J. (1999).

ถ้าในกรณีที่ชื่อผู้แต่งคนแรกเป็นคนเดียวกันและชื่อผู้แต่งคนที่สอง หรือคนที่สามต่างกัน ให้จัดเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อสกุลของผู้แต่งคนที่สอง และคนที่สามตามลำดับ

ตัวอย่าง

จักร ติงศภัทย์, จุฑา เทียนไทย, และ คำนวณ บัญชา. (2549).

จักร ติงศภัทย์, จุฑา เทียนไทย, และ พิบูล ทีรขันธ์. (2551).

Boockvar, K. S., & Burack, O. R. (2007).

Boockvar, K. S., LaCorte, H. C., Giambanco, V., Friedman, B., &

Siu, A. (2006).

ที่มาของข้อมูล:  American Psychological Association. (2020). Publication manual of the

American Psychological Association (7thed.). https://doi.org/10.1037/0000165-000

[1] กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)

[2] กรณีไม่ปรากฏเมืองหรือสำนักพิมพ์ ให้ใส่ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.)

บทความวิจัย

Policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ