จิตรกรรมไทยร่วมสมัยรูปบัว: สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายเชิงพุทธปรัชญา
คำสำคัญ:
จิตรกรรมไทยร่วมสมัย, สัญลักษณ์, พุทธปรัชญาบทคัดย่อ
งานวิจัย “จิตรกรรมไทยร่วมสมัยรูปบัว: สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายเชิงพุทธปรัชญา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาพบัวในการสื่อความหมายเชิงพุทธปรัชญาจากการศึกษาเก็บข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมและสร้างองค์ความรู้ในการสร้างผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย นำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำผลการศึกษามาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน
จากการศึกษางานวิจัยพบว่ามีการใช้ภาพบัวในการสื่อสัญลักษณ์เชิงพุทธปรัชญาผ่านผลงานศิลปะตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้สัญลักษณ์ดอกบัวเป็นสิ่งที่สื่อในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ซึ่งสัญลักษณ์ที่นิยมนำมาใช้คือดอกบัวบาน สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายเชิงพุทธปรัชญาเพื่อใช้แสดงถึงหลักธรรมคำสอน ปรัชญาในพุทธศาสนาหรือเพื่อแสดงความความรู้สึกศรัทธาความเชื่อ ยกตัวอย่าง บัวสี่เหล่าที่เปรียบดอกบัว 4 ประเภทถึงสติปัญญาของบุคคลที่สอนได้หรือไม่ได้สามารถเข้าใจได้ง่ายด้วยความหมายนี้ ผลวิเคราะห์ผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้ที่ศึกษามาพัฒนาการสร้างสรรค์
ผลงานศิลปะชุดสรุปนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติบัวเป็นภาพประทับใจมาถ่ายทอดด้วยสีสันแสงในบรรยายกาศที่ไม่มีอยู่จริง การใช้รูปทรงบัวที่มีขนาดเล็กใหญ่มาใส่ในโครงสร้างรูปร่างอิสระของเส้นที่มาจากจังหวะของใบบัวเป็นเส้นคลื่นที่ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว แปลกตา เป็นการแสดงออกของอารมณ์ทางสุนทรียะ ผสมกันของรูปทรงให้สอดคล้องกับพุทธปรัชญาเพื่อความสมบูรณ์ของผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางจิตใจในงานศิลปะรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ โดยจะนำเสนอผลงานในชุดผลงานทดลองจำนวน 2 ชุดและชุดผลงานสรุปที่พัฒนาการสร้างสรรค์
References
โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย. (2559). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 21. สืบค้นจาก https://84000.org/
พุทธทาสภิกขุ. (2552). พุทธประวัติจากหินสลัก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.
วิไลรัตน์ ยังรอต, ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. (2559). ถอดรหัสภาพผนังพระจอมเกล้า-ขรัวอินโข่ง. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
สถิต วงษ์สวรรค์. (2541). ปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2544). ปรัชญาจากภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มงคลเทพ.
ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2559). ศิลปะทิเบต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กำจร สุนทรพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวิวัฒนาพานิช.
สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมพร ธุรี. (2553). การวิเคราะห์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ไชยพจน์ หวลมานพ. (2560). สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
จี ศรีนิวาสัน. (2545). สุนทรียศาสตร์ปัญหาและทฤษฎีว่าด้วยความงามและศิลปะ. แปลและเรียบเรียงโดย สุเชาวน์พลอยชุม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
เดือนรุ่งฟ้า เพ็ญไพสิฐ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในผลงานจิตรกรรมของอาจารย์ทวี นันทขว้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต. สาขาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณิตา เลขะกุล และคณะ. (2536). บัว ราชินีไม้น้ำ. มูลนิธิสวนหลวง ร. 9. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ปริมลาภ ชูเกียรติมั่น และเสริมลาภ วสุวัต. (2547). บัว ประดับในประเทศไทย 1. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
โอชนาพูล ทองดีวัฒนา. (2556). “สุนทรียศาสตร์ตะวันตก: พัฒนาการของการแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับศิลปะและความงาม” Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 6, 4 ( ม.ค-มิ.ย), 3.