การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการท่องเที่ยวปริมณฑลฝั่งตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ภาสกฤษฏิ์ ศรีสารคาม สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สมชาย เซะวิเศษ สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

สื่อประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการท่องเที่ยว, ปริมณฑลฝั่งตะวันออก, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการท่องเที่ยวปริมณฑลฝั่งตะวันออก 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการท่องเที่ยวปริมณฑลฝั่งตะวันออก เครื่องมือการวิจัยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง 5 ระดับ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวในเขตประเวศ จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha=0.728 (n=3) มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลรูปแบบการท่องเที่ยว พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ โดยวิเคราะห์ตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมที่แตกต่างด้านอายุ เพศและการศึกษา ซึ่งปัจจัยที่ได้จำนวน 5 ปัจจัย นำสู่กระบวนการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการท่องเที่ยวปริมณฑลฝั่งตะวันออก โดยพัฒนาแนวความคิดการออกแบบ จำนวน 3 รูปแบบ Design 1 และ Design 3 มีความเหมาะสมมาก (=4.20, S.D.=0.86), (=4.20, S.D.=0.66) รองลงมา คือ Design 2 มีความเหมาะสมมาก (=4.06, S.D.=0.57) โดยนำสื่อประชาสัมพันธ์เข้าสู่ขั้นตอนการประเมิน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตประเวศ กรุงเทพฯ ได้มีความพึงพอใจในระดับมาก (=4.18 , S.D.=0.82)

References

จารุพร เลิศพิสัณห์ และคณะ. (2554). แนวโน้มการประชาสัมพันธ์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2563). สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. จาก http://www.commartsreview.siam.edu

นิรัช สุดสังข์. (2543). การออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

DUNDEE NAVTN-CHANDRA. (1994). The Recovery Problem in Product Design. Journal of Engineering Design, 5(1), 65-86. DOI: 10.1080/09544829408907873.

Roozenburg, NFM & Eekels, J. (1995). Product Design: Fundamentals and Methods. UK. John Wiley & Son Ltd.

Rusli Yusufa, Sanusib, Razalic, Maimund & Irwan Putra. (2020). Critical Thinking and Learning Outcomes through Problem Based Learning Model Based on LBK Application. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 12(12), 907-918

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31