การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบลานเพื่อประยุกต์ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์
คำสำคัญ:
ใบลาน, หางอวน, ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ, หัตถกรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์จากใบลาน 2)เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากใบลาน 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากใบลานที่พัฒนา โดยอาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ โดยวิเคราะห์ สรุปผล และนำผลที่ได้มาสร้างแบบร่างผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินแนวคิดในการออกแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม ใช้สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคจำนวน 40 คน จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคที่มาจับจ่ายใช้สอยในบริเวณตลาดชุมชนบ้านหน้าทับ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ซึ่งมีค่า IOA (Index Item Objective Appropriation) ที่ระดับแบบสอบถามสามารถใช้วัดผลประเมินได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ดี (Mean=4.45, S.D.=0.49) และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบลำดับชั้น การทอใบลานหรือการทอหางอวนเป็นงานหัตถกรรมที่โดดเด่นของไทย มีเสน่ห์ สวยงามและสามารถพบเห็นน้อยในปัจจุบัน เส้นใยมีความเหนียวทนทาน ยืดหยุ่นตัวได้ดี ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย และไม่เป็นเชื้อรา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่ 1 คอลเล็คชั่นการออกแบบที่ชื่อว่า “Sky & Sea in My House” มีความเหมาะสมที่สุด ค่าเฉลี่ย ( =4.36, S.D.=0.45) และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากใบลาน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( =4.58, S.D.=0.58)
References
โครงการสร้างองค์ความรู้และบุคลากรด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สพว.). 2555. อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิด ทุนสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปทุมธานี : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ดิสนีย์ สิงหวรเศรษฐ์. 2552. ออกแบบสิ่งทอ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2555. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี
นิรัช สุดสังข์. 2543. การออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์.
บวร เทศารินทร์. 2559. ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563 [Online]. Available : http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223
ปวริน ตันตริยานนท์. 2550. ชุดเอกสารการสอน หลักสูตรแฟชั่น เรื่อง เทคนิคการสร้างลวดลายผ้า. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. 2551. ออกแบบลวดลาย (Ornamental design). (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปทุมธานี : ศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2535. ศิลปะพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บ้านหนังสือ
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2557. การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design Education). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์
สมประสงค์ ภาษาประเทศ. 2559. เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากพืช เล่มที่ 3 การปั่นด้ายใยสั้นชนิดยาวจากพืช. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 [Online]. Available: https://www.thaitextile.org
สาคร ชลสาคร. 2560. เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเสนใยธรรมชาติจากพืช เล่มที่ 1 การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยพืช. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 [Online]. Available : https://www.thaitextile.org
อรัญ วานิชกร. 2559. การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์. 2560. หางอวนภูมิปัญญาที่กำลังจะหายไป. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563 [Online]. Available : https://www.youtube.com/watch?v=VlVv135cNPA
Mahgoub, Y. & Alsoud, K. 2015. The Impact of Handicrafts on the Pro
motion of Cultural and Economic Development for Students of Art Education in Higher Education. Journal of Literature and Art Studies. 5(1): 471-479.
Shaikh, S. M. 2020. A Study on Market Opportunities & Consumer buying Behaviour towards Indian Handicraft Products. Global Journal of Human-Social Science: H. Interdisciplinary. 20(10): 32-40.