การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ชุด หัตถศิลป์ถิ่นปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ศิรดา พานิชอำนวย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์, ชุดหัตถศิลป์, ถิ่นปทุมธานี

บทคัดย่อ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ชุดหัตถศิลป์ถิ่นปทุมธานี เป็นการแสดงที่เกิดแรงบันดาลใจจากการศึกษา อารยะธรรมกลุ่มชาติพันธุ์มอญในจังหวัดปทุมธานี พบว่าชุมชนมอญ เมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานีมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยพบหลักฐานว่า จังหวัดปทุมธานีในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาและพบเตาเผาโบราณที่มีอายุประมาณ 252 ปี และเป็นแหล่งผลิตโอ่งดินเผาที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ซึ่งคนไทยเรียกขานว่า “ตุ่มอีเลิ้ง” ในอดีต “ตุ่ม” มีความจำเป็นสำหรับเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค แต่ด้วยความเจริญทางสังคมทำให้บริบทในการใช้ประโยชน์ของตุ่มเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาพระอุดม จึงได้พัฒนาตุ่มให้เป็นงานศิลป์เพื่ออนุรักษ์และสืบสาน ให้เห็นถึงความสำคัญของตุ่มที่มีในอดีต โดยสร้างสรรค์งานศิลป์ในรูปแบบงานเครื่องปั้นดินเผาเบญจสิริ  โดยนำตุ่มมาพัฒนาเป็นงานหัตถศิลป์ที่สวยงามและสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มประชากรในชุมชน

ผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุดการแสดง ในรูปแบบการนำเสนอผลงานศิลป์และนำเสนอชิ้นงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาพระอุดม เพื่อเป็นการร่วมสืบสานความสำคัญและความเป็นมาของ “ตุ่ม” ที่กำลังจะสูญหายจากความเจริญทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคโลกาภิวัฒน์ จึงได้สร้างสรรค์การแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยผสมผสานรูปแบบการร่ายรำท่วงท่าของ “มอญรำ” อันเป็นแบบฉบับของชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่ยังคงมีการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น โดยทำการประพันธ์เพลงเล่าผ่านเรื่องราวที่เรียบเรียง ตั้งแต่กรรมวิธีการปั้นตุ่มและนำสู่การสร้างงานหัตถศิลป์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายให้เกิดความวิจิตร สวยงามตามรูปแบบของชาวมอญจังหวัดปทุมธานี ที่มีความลงตัวอย่างงดงาม

การออกแบบเครื่องแต่งกายและทรงผม นำหลักการแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวมอญจังหวัดปทุมธานี นำมาออกแบบเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดสุนทรียะความงดงามในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

References

กรมศิลปากร.(2544) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี.กรุงเทพ: โรงพิมพ์

ครุสภาลาดพร้าว. 64 หน้า

ของดีเมืองปทุม เล่ม1 (2536) .กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญฟิวเจอร์เพลส

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.(2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี :ผู้แต่ง.

จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง.ผู้ช่วยศาสตราจารย์(2543).การออกแบบเครื่องแต่งกาย.กรุงเทพฯ: โอเดียสโตร์,3 หน้า

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ (นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์). กรุงเทพมหานครฯ:บริษัทบพิธ

การพิมพ์.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์./(2560).// “การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดยใช้

โมเดลซิปปา”//วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2560,ฉบับที่2/

(มกราคม-มิถุนายน),/72-79หน้า

พีรพงษ์ เสนไสย (2546).นาฏยประดิษฐ์.จังหวัดมหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25 หน้า

เพ็ญศรี ดุ๊กและคณะ.(2536)วัฒนธรรมพื้นบ้าน:ศิลปกรรม.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 262 หน้า

มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาตร์ไทย. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(2553).เอกสารประกอบการอภิปรายโครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ

“วัฒนธรรมการละเล่นและเพลงพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี.ม.ป.ท ม.ป.พ

รจนา สุนทรานนท์. วิธีการสอนและเทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทย. ปทุมธานี: ศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี.(2550) มอญในปทุมธานี ศูนย์การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานีเฉลิม

พระเกียรติ.เทศบาลเมืองปทุมธานี. ม.ป.พ

ลัษมา ธารีเกษ.(ม.ป.ป) แนวคิดและภูมิปัญญาไทยรามัญสามโคก:แนวทางการอนุรักษ์และการพัฒนา. ม.ป.ท ม.ป.พ

วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี. (ม.ป.ป). ปทุมธานี เมืองแห่งสายน้ำและวัฒนธรรม.74 หน้า

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2548).พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน .กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์,

หน้า

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2549). หลักการการวิภาคและการเคลื่อนไหว. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2551). นาฏยศิลป์ หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพมาหานครฯ: สำนักพิมพ์

โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬรักษ์(2547) หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการการพิมพ์,225 หน้า

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยประดิษฐ์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2535). เครื่องดนตรีนานาชาติ.

อมรา กล่ำเจริญ. (2535). วิธีการสอนนาฏศิลป์. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. (2558) 200ปี ปทุมธานี ที่ระลึกครบรอบ 200ปี พระราชทานนาม

เมืองประทุมธานี.กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน),หน้า 117

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21