อีสานสวีท : ผลงานสร้างสรรค์จากทำนองเพลงพื้นบ้านอีสานสำหรับวงซิมโฟนิก

ผู้แต่ง

  • อัครวัตร เชื่อมกลาง สาขาดุริยางค์ศาสตร์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ สาขาดุริยางค์ศาสตร์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

อีสานสวีท, ผลงานสร้างสรรค์, เพลงพื้นบ้านอีสาน, วงซิมโฟนิก

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การเรียบเรียงบทเพลงพื้นบ้านอีสานพร้อมคู่มือสำหรับการสอนวงซิมโฟนิกระดับพื้นฐานและระดับกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นบ้านอีสานสำหรับวงซิมโฟนิก ใช้บรรเลงหรือรับฟังให้เกิดสุนทรียะ บูรณาการเป็นคู่มือการสอนรวมวงซิมโฟนิกต่อไป โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และเรียบเรียงบทเพลงตามหลักการของดนตรีตะวันตก นำเสนอเป็นบทวิเคราะห์และอรรถาธิบาย มีผลการศึกษาดังนี้

  1. คัดเลือกบทเพลงที่นำมาเรียบเรียง จากการศึกษาประวัติความเป็นมา ความน่าสนใจ ช่วงเสียงความไพเราะ เป็นเพลงนิยมใช้ในการแสดง มีทำนองที่คุ้นหู มีทำนองที่ไม่ยาวนัก มีทำนองเป็นที่จดจำได้ง่าย และเป็นที่นิยมใช้ประกอบการแสดงฟ้อนรำ จำนวน 4 บทเพลง ได้แก่ เซิ้งบั้งไฟ แม่ฮ้างกล่อมลูก เต้ย และลำเพลิน

การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลง “อีสานสวีท” ใช้สังคีตลักษณ์แบบโมเดิร์นสวีท คือเพลงชุดที่รวม 4 บทเพลงอีสานเข้าด้วยกัน โดยใช้องค์ประกอบดนตรีที่ได้ศึกษาจากลักษณะดนตรีอีสาน คือ จังหวะ ชีพจรจังหวะ บันไดเสียง ทำนอง ทำนองช่วงเชื่อม เสียงค้าง สำเนียง และนำทำนองที่คุ้นหูของเพลงอีสานมาประยุกต์สอดประสานทำนอง บทเพลงมีความยาว 5.25 นาที

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2536). วิธีการศึกษาดนตรีพื้นบ้านอีสาน. ขอนแก่น : คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนนาถ มีนะนันท์. (2556). อีสานซิมโฟนิกแวริเอชั่น สำหรับนักร้องประสานเสียงและวงดุริยางค์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปะกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศพริ้นท์ติ้งเซนเตอร์.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรชาติ เปรมานนท์. (2537). ปรัชญาและเทคนิคการแต่งเพลงร่วมสมัยไทย. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

_____________ (2561). รายงานสรุปการสัมมนาเรื่องศัลยกรรมดนตรี. คณะดุริยางคศาสตร์ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

สุกิจ พลประถม. (2538). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อเนก นาวิกมูล และณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจจํากัด.

Adler, Samuel. (2000). The Study of Orchestration (Third Edition). New York : W.W. Norton&Company, Ltd.

Black, Dave, and Gerou, Tom. (1998). Essential Dictionary of Orchestration. USA : Alfred Publishing Co., Inc.

Brinkman, David. (2009). How to Orchestrate and Arrange Music. [n.p., n.d.]

Lithographic and Printing Corporation.

Lowell, Dick, and Pullig, Ken. (2003). Arranging for Large Jazz Ensemble. USA :Vicks Lithographic and Printing Corporation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21