การออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา พุทธิสิริพร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปานฉัตท์ อินทร์คง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล เป็นการต่อยอดนวัตกรรมการออกแบบต่อการรับรู้เรื่องเบญจศีล มีขึ้นเพื่อการพัฒนาหลักคำสอนในรูปแบบเดิม การออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของเบญจศีลจากหลักคำสอนทาง
พระพุทธศาสนา สำหรับสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดวางตัวอักษร 2) สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล 3) สื่อสารความหมายของเบญจศีลให้กับคนไทยในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลทั่วไป อายุ 18 ปี ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสอบถามปลายปิด การสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล จำนวน 5 ผลงานต่อยอดผลงานสู่นวัตกรรมในสื่ออื่น ๆ เช่น การทำผลงานเป็น AR: Augmented
Reality Technology เป็นเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถใส่เสียง ขยับภาพบางส่วนเพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมผลงาน เครื่องมือหลักในการใช้งานคือโทรศัพท์มือถือ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม และเข้าถึงเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า หลักคำสอนตามหลักพุทธศาสนาสร้างความเข้าใจได้ด้วยการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล ทั้งหมด 5 ผลงาน ซึ่งเป็นการบอกเรื่องราวของศีลทั้ง 5 ข้อ สร้างความน่าสนใจและการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ดี ผลงานที่สื่อสารออกมามีทั้งการใช้ขนาดที่แตกต่างกันของตัวอักษร การใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ และภาพประกอบที่แตกต่างกันของศีลในแต่ละข้อ โดยมีการการผสมผสานเทคนิคของการออกแบบกราฟิกและความเชื่อทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างผลงานที่เข้าถึงได้ง่ายกับกลุ่มคนในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป้าประสงค์เพื่อการสื่อสารความหมายเรื่องราวของศีลแต่ละข้อที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). พื้นฐานการใช้งานตัวอักษร. นนทบุรี : ไอดีซี เรีเมียร์.

ดุสิต ขาวเหลือง, และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2561). “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษา อาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน”.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดาใจ จันทนามศรี. (2560). เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่าน สื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของ อินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563. จาก: http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3192.

ธวัชชานนท์ ตาไธสง. (2562). หลักการศิลปะ. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.

ประเสริฐ บุญตา. (2549). ดีด้วยศีล. กรุงเทพฯ : นอว์ลิดจ์ พลัส.

เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ. (2562). บริโภคเนื้อสัตว์ สะเทือนถึงผืนป่า. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/839618

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). พลิกบทบาท 3D สู่โลกความจริงเสมือน (Augmented Reality). เอกสารประกอบการบรรยาย. นครปฐม : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. เรื่องเล่าชาวสยาม. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. จาก: https://kidnan.com/21354/

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2555). พุทธศิลป์ในวรรณคดีไทย: วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), น.49.

สำลี รักสุทธี. (2543). ศีล สุดยอดวินัยของพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : ธนชัชการพิมพ์.

เสกสันต์ ศิริวรรณ. (2553). “ความศรัทธาในศีล 5 ที่มีต่อการปฏิบัติตนในวัยรุ่น”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต จิตวิทยาการแนะแนว. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนันต์ ประภาโส. (2558). ทฤษฎีสี. ปทุมธานี : สิปประภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18