การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายบุรุษกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด ด้วยนวัตกรรมการเพิ่มความเงาของสี เพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ จากแนวคิดความหลากหลายทาง วัฒนธรรมในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อรกานต์ ผดุงวัฒนโรจน์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เจนเดอร์ฟลูอิด, สีเพนท์ผ้ารับเบอร์เบส คัลเลอร์, ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันความหลากหลายทางเพศเป็นหัวข้อที่ได้รับกล่าวถึงในสังคมมากขึ้น กลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือการแสดงออกทางเพศเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างการความเป็นผู้ชายและความเป็นผู้หญิง งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาหาแนวทางการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแฟชั่นสำหรับกลุ่มเป้าหมายเจนเดอร์ฟลูอิดด้วยนวัตกรรมการเพิ่มความเงาจากสีเพนท์ผ้ารับเบอร์เบส คัลเลอร์ (Rubber-based Color)และแนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจังหวัดกรุงเทพมหานครโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายเจนเดอร์ฟลูอิดสนใจแฟชั่นสไตล์เฟมมินีน วินเทจ (Feminine-Vintage) มากที่สุด (2) กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจวัฒนธรรมที่หลากหลายในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัฒนธรรมโปรตุเกส ตะวันตก และจีน (3) กลุ่มเป้าหมายสนใจนวัตกรรมด้านสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ และ (4) ได้ “สารเคลือบเงายางพาราและยางกล้วย” จากการพัฒนาสารเคลือบเงาจากธรรมชาติ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์คอลเลกชั่นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายต้นแบบจำนวน 4 ชุด เพื่อทดลองผลการวิจัยที่ได้จากกลุ่มเป้าหมาย

References

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/---sro-bangkok/documents/publication/wcms_356948.pdf

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์ และ Alicia K. Matthews. (2560). “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามในการศึกษาถึงความหลากหลายทางเพศ ในคนกลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย.” วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (2017): พฤษภาคม-สิงหาคม 2560. 1-15.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2563). การบริหารจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพ: ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ellen Diamond and Jay Diamond. (2002). The World of Fashion. 3rd ed. New York: Fairchild Publications Inc.

National Geographic Thailand. (2019). หลากหลายโฉมหน้าของเพศสภาพในปัจจุบัน. ngthai.com. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563. จาก https://ngthai.com/cultures/2540/gender-diversity-incurrent

Sabra L. Katz-Wise. (2020). Gender fluidity: What it means and why support matters. health.harvard.edu. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563. จาก https://www.health.harvard.edu/blog/gender-fluidity-what-it-means-and-why-supportmatters-2020120321544

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20