กระหนกนารี: การออกแบบสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย ร่วมสมัยผสมมัลติมิเดีย

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี บุญเสริม สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จารุนี อารีรุ่งเรือง สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรินทร์ ใบไพศาล สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นรีรัตน์ พินิจธนสาร สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย, มัลติมีเดีย, กระหนกนารี, จิตรกรรมไทย, การผสมผสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยสร้างสรรค์ชุด “กระหนกนารี” นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย โดยได้แรงบันดาลใจจากลวดลายไทย และภาพจิตรกรรมฝาผนัง และ 2) เพื่อสร้างสรรค์งานมัลติมีเดียในการสร้างองค์ประกอบด้านภาพของผลงานแสดงนาฏศิลป์ชุด กระหนกนารี ในกระบวนลวดลายไทยแบ่งได้ออกเป็น 4 หมวดหลักด้วยกัน ได้แก่ กระหนกนารี กระบี่ และคชะ ซึ่งแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์การแสดงชุดกระหนกนารีนี้ได้เลือกหมวด กระหนก และ นารี “กระหนก”จัดเป็นแม่ลายหลักและเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์เป็นลวดลายไทยแบบต่างๆ เช่น ลายกระหนกเปลว ลายกระจัง ลายประจำยาม เป็นต้น ส่วนลายไทยในหมวด “นารี” เป็นหมวดของภาพที่วาดเป็นรูปมนุษย์ หรือ เทพยดา อันรวมทั้งเพศชายและเพศหญิง การแสดงชุดนี้ได้มีวิธีการดำเนินการสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลวดลายไทย การวาดลายเส้นแบบโบราณ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบท่ารำ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและการสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบแบบนาฏศิลป์ตะวันตกผสมผสานกับการร่ายรำแบบนาฏศิลป์ไทย ใช้เพลงดนตรีร่วมสมัย และ เครื่องแต่งกายประยุกต์จากภาพจิตรกรรมฝาผนัง ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของนาฏศิลป์ร่วมสมัยผสมมัลติมิเดียขั้นตอนที่ 3 การออกแบบมัลติมิเดีย ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอและเผยแพร่ผลงาน จากกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้พบว่า การใช้ลายเส้นของลายไทยแบบต่าง ๆ มาเป็นแนวทางในการออกแบบลีลานาฏศิลป์สามารถทำให้เกิดท่ารำที่หลากหลายมากกว่าที่เป็นโครงสร้างท่ารำแบบเดิม และเมื่อนักแสดงได้ด้นสดโดยใช้เส้นลายไทยเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวร่างกายกับความรู้สึกไปพร้อมกันทำให้เกิดท่ารำแบบใหม่ ๆ แต่ยังคงกรอบความเป็นเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทย

References

ปฏิพัทธ์ ดาระดาษ. (2538). ลายไทย ภาพไทย1. กรุงเทพฯ: บริษัทงานดี จำกัด.

สมพร ฟูราจ. (2554). Mime: ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536). เส้นสายลายไทย สัดส่วนตัวละคร และพุทธศิลป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขใจ.

วัชรพงษ์ หงษ์สุวรรณ. (2548). ลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทวาดศิลป์ จำกัด.

สันติ เล็กสุขุม. (2539). กระหนกในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มติชน.

ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2555). เติมเต็มจินตภาพ เติมสีจิตรกรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง วิหารลายคำ วัดพระสิงห์. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: บริษัทโชตนาพริ้นท์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20