ขวัญข้าว : นาฏกรรมสร้างสรรค์จากวัฒนธรรมข้าวชุมชนเขมรถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • พงศธร ยอดดำเนิน -

คำสำคัญ:

นาฏกรรมสร้างสรรค์, นาฏกรรมเขมรถิ่นไทย, วัฒนธรรมข้าว

บทคัดย่อ

บทความงานสร้างสรรค์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมข้าวของชุมชนเขมรถิ่นไทย และเพื่อสร้างสรรค์นาฏกรรมจากวัฒนธรรมข้าวของชุมชนเขมรถิ่นไทย ชุด ขวัญข้าว ดำเนินงานด้วยวิธีภาคสนามและกระบวนการสร้างสรรค์จากฐานวัฒนธรรมชุมชนเขมรถิ่นไทย หมู่บ้านขามและหมู่บ้านเป็นสุข ตำบลเป็นสุข อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้การดำเนินโครงการ Art  for All ศิลป์ มข. สร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบ ผลการดำเนินงานพบว่า วัฒนธรรมข้าวเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของสังคมเกษตรกรรมที่มีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ชุมชนเขมรถิ่นไทยมีประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกข้าว ฤกษ์ยามในแต่ละขั้นตอนของการปลูกข้าวและการรับขวัญข้าว การสร้างสรรค์นาฏกรรมจากวัฒนธรรมข้าว รูปแบบการแสดงเพื่อนำเสนอถึงความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติและอำนาจเหนือธรรมชาติบนความหวังเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของผลิตผลจากการปลูกข้าวในแต่ละปี องค์ประกอบการแสดงด้านดนตรีและเพลงใช้วงกันตรึมพื้นบ้านในการบรรเลงประกอบ ด้านเครื่องแต่งกายใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับเงินตามแบบวัฒนธรรมการแต่งกายชาวเขมรถิ่นไทย ด้านอุปกรณ์ประกอบการแสดงใช้ดอกข้าวที่ทำจากไม้ไผ่และบายศรีตามแบบอย่างการประกอบพิธีกรรม และด้านกระบวนท่าทางการแสดงแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ฤกษ์ยาม รับขวัญ และฉลองข้าว การสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมชุมชนด้วยวิธีบูรณาการเรียนรู้ชุมชนและมหาวิทยาลัย สร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักศึกษาและเยาวชนในชุมชนให้ตระหนักรัก สืบสาน และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวเขมรถิ่นไทย

References

กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการและกรมศิลปากร. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหงัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา แก้วเทพ. (2560). เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา. กรุงเทพฯ:

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (เอกสารวิชาการลำดับที่ 115).

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2544). วัฒนธรรมข้าวของชนชาติไท: ภาพสะท้อนจากตำนาน นิทาน เพลง.

ทุนวิจัยเงินทุนเฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยศ สันตสมบัติ. (2559). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีณา วีสเพ็ญ. (2558). สู่ขวัญ: คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่งในเอกสารใบลานอีสาน. เอกสารวิชาการลำดับ

ที่ 25. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม:

อภิชาตการพิมพ์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์. (2560). วัฒนธรรมข้าวเชิงพุทธ: แนวคิดและการจัดการบนฐานทุนทางสังคม. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28