การสร้างสรรค์ท่ารำไหว้ครูมวยไทยด้วยแนวทางท่าเต้นบัลเล่ต์เรื่องมโนห์รา

ผู้แต่ง

  • สุรินทร์ เมทะนี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ท่ารำไหว้ครูมวยไทยด้วยแนวทางท่าเต้นบัลเล่ต์เรื่องมโนห์รา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเจาะจง คือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงท่ารำไหว้ครูมวยไทยประกอบด้วย นักมวย ครูมวย อาจารย์ นิสิตด้านพลศึกษาและนาฏศิลป์ จำนวน 306 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินโครงการวิจัย และแบบประเมินผลงานสร้างสรรค์

          ผลการวิจัยคิดเป็นร้อยละเรียงตามลำดับคือ การรักษามรดกทางวัฒนธรรมด้วยการพัฒนาไปสู่นวัตกรรมใหม่เป็นสิ่งที่ทำได้ 56.2 การพัฒนาสร้างสรรค์ท่ารำไหว้ครูมวยไทยด้วยท่าเต้นบัลเล่ต์เป็นการสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรม การนำท่าทางและบริบทการเคลื่อนไหวมาสร้างสรรค์เป็นท่ารำไหว้ครูมวยไทยสามารถทำได้ 52.4 และ ศาสตร์ทางด้านมวยไทยกับศาสตร์ทางด้านนาฏศิลป์สามารถบูรณาการร่วมกันได้ 52 ได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากการประมาณค่าในระดับดีมาก 4.32

          การสร้างสรรค์ท่ารำไหว้ครูมวยไทยด้วยแนวทางท่าเต้นบัลเล่ต์เรื่องมโนห์ราเป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างพลศึกษากับนาฏศิลป์ตะวันตกด้วยวิธีการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ ความเชื่อ และนาฏยประดิษฐ์ ได้ท่าไหว้ครูมวยไทย 8 ท่า คือ พรหมนั่ง 1) กินรีลงสรง 2) กินรีไซร้ขน 3) กินรีร่อน 4) กินรีต้องบ่วง พรหมยืน 5) กินรีส่องไพร 6) กินรีสะบัดเท้า 7) กินรีเล่นลม 8) กินรีภิรมย์ เกิดเป็นนวัตกรรมที่มาจากภูมิปัญญาร่วม

         

คำสำคัญ:  ท่าไหว้ครูมวยไทย, บัลเล่ต์, มโนห์รา,

References

เอกสารอ้างอิง

กามินี่ วิเจสุริยา. (2551). ความรู้ทางสถาปัตยกรรมในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. รายงานการประชุมสัมมนานานาชาติ การบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมและแนวคิดจาก นานาชาติ 6-8 สิงหาคม 2551 จัดโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

ภูมิปัญญาไทย. (2558). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา

: http://phumpunyathai.blogspot.com/2015/01/blog-post_30.html

. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฏาคม 2564

จารุณี มุมบ้านเซ่า. (2560). การวิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา

: file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/Transdisciplinary+Research.pdf

สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565

มหาวิทยาลัยศิลปากร, สํานักบริการวิชาการ. (2553). สมุดไทยดํา ตําราชกมวย. หนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์.

ยูเนสโก. (2560). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา

: http://ich.culture.go.th. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฏาคม 2564

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2565). การสร้างสรรค์งานทางนาฏศิลป์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา.

อาย ลอว์. (2561). พระราชบัญญัติส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาฯ ‘คุ้มครอง’ หรือ ‘แช่แข็ง’ วัฒนธรรม.

[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://ilaw. or.th/node/4000. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30