การศึกษากระบวนการคิดแก้ไขปัญหาเรื่องการหายใจ และการใช้ลมสำหรับการปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองเสียงต่ำ

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ สมใจ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://orcid.org/0000-0002-4509-849X
  • ภัทรภร ผลิตากุล คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหา, การหายใจ และการใช้ลม, เครื่องลมทองเหลือง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการคิดแก้ไขปัญหาของผู้เรียนช่วงอายุ 12-13 ปี เรื่องการหายใจ และการใช้ลมในการปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองเสียงต่ำ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยผู้วิจัยคัดเลือกกรณีศึกษาจากทักษะการปฏิบัติด้านดนตรี และทักษะด้านวิชาการ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบจดบันทึกภาคสนาม และแบบรายงานตนเองที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบอุปนัย

        ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการคิดแก้ปัญหาเรื่องการหายใจ และการใช้ลมของกรณีศึกษามีความแตกต่างกัน กรณีที่ 1 เด่นด้านปฏิบัติดนตรี แต่ไม่ถนัดด้านวิชาการ มีกระบวนการคิดแก้ปัญหาเริ่มจากสังเกตตนเอง หาวิธีแก้ปัญหาจากการลองผิดลองถูก ปฏิบัติตามวิธีที่ได้รับซ้ำจนชำนาญ ประเมินผลโดยตนเอง และยืนยันผลโดยให้ครู และเพื่อนประเมิน กรณีที่ 2 มีความสามารถด้านดนตรี และวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง มีกระบวนการคิดแก้ปัญหาเริ่มจากการสังเกตตนเอง เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาจากการสอบถาม และรับชมการสาธิตของครู ปฏิบัติเลียนแบบตามที่ได้เรียนรู้ และประเมินผลด้วยตนเองผ่านการเปรียบเทียบจากที่เรียนรู้ กรณีที่ 3 เด่นด้านวิชาการ แต่ไม่ถนัดด้านการปฏิบัติดนตรี มีกระบวนการคิดแก้ปัญหาเริ่มจากเข้าใจในปัญหา และสาเหตุของปัญหาโดยเชื่อมโยงจากประสบการณ์ความรู้ที่เคยได้รับ ค้นหาวิธี และลงมือแก้ปัญหาจากการประยุกต์ใช้ประสบการณ์ความรู้เดิม ประเมินผลการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากการไตร่ตรองเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยเรียนรู้

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราช-ภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 179-192.

กฤตมุข ไชยศิริ. (2559). การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว(จีบ ปานขำ) [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิงชิ่ง.

ณัฏฐ์ ภูริพัฒน์สิริ. (2561). เด็กดี-เด็กเก่ง?: คุณลักษณะของครอบครัวและโรงเรียน. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 12(1), 56-79.

ทิศนา แขมณี. (2547). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรมคุณาภรณ์. (2556). โยนิโสมนสิการ-วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 24). วัดญาณเวศกวัน.

สันติ บุญภิรมณ์. (2558). การบริหารจัดการในห้องเรียน. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุพัตรา ฉลากเลิศ. (2560). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุมิตรา อุ่นเปีย และ ขนบพร วัฒนสุขชัย. (2557). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่มีต่อความสามารถในการปั้นของเด็กอายุ 9-11 ปี. วารสารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(1), 458-472.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่12). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2558). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่13). โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

Alden, S. (2019). Theory in Practice: The Teaching of Horn, Euphonium, and Tuba Embouchures [Unpublished master’s thesis]. Buchtel College of Arts and Sciences.

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy of Learning, Teaching. And Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. Longman.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action. Upper Saddle River, Prentice Hall.

Baumrind, D. (1971). Current Patterns of Parental Authority. Developmental Psychology Monographs.

Bloom, B. S., Englehart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook 1: Cognitive Domain. David Mckay Co., Inc.

Brian, N. W. (2020). Brass Technique and Pedagogy. Butler University.

Hodges, D.A. (2002). Implications of Music and Brain Research. University of North Carolina at Greensboro.

Santrock, J. W. (2011). Child Development. New York: McGraw-Hill.

Simpson, E. J. (1972). The Classification of Educational Objectives in The Psychomotor Domain. Gryphon House.

Susanti, E., Hapizah, H., Meryansumayeka, M., & Irenika, I. (2019). Mathematical Thinking of 13 years old Students Through Problem-Solving. [Unpublished master’s thesis]. Sriwijaya University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30