แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยมสำหรับนักเรียนช่วงอายุ 17-18 ปี
คำสำคัญ:
ซินเนคติกส์, ทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยมสำหรับนักเรียนช่วงอายุ 17-18 ปี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยม สำหรับนักเรียนช่วงอายุ 17-18 ปี ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยม สำหรับนักเรียนช่วงอายุ 17-18 ปี ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการสังเคราะห์เอกสารควบคู่กับวิจัยกึ่งทดลอง ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนแผนการเรียนดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แบบทดสอบการประพันธ์เพลงสมัยนิยมและเกณฑ์การประเมินบทเพลงสมัยนิยม วิเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทดสอบค่า t-test
ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ SOSBAC เกิดจากการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ 2) ผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยมในกลุ่มทดลองหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (M=13.31, S.D.=1.12) สูงกว่าก่อนเรียน (M=7.53, S.D.=0.88) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการประพันธ์เพลงสมัยนิยมหลังเรียนของกลุ่มทดลอง (M= 13.31, S.D.=1.12) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M= 10.87, S.D.=2.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์. (2551). การเรียบเรียงบทเพลงไทยสมัยนิยมสำหรับกีต้าร์คลาสิคระดับชั้นกลาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยดุริยางศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิตต์ธาดา เภาคำ. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีตลาสิคและดนตรีสมัยนิยมเพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
สุธิดา ปรีชานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้คลาวด์เป็นฐานร่วมกับกระบวนการซินเนคติกส์และเทคนิคการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร
อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์. สํานักพิมพ์ต้นอ้อ.
Gordon, William (1961). Synectics: The development of creative capacity. Harper and Row, Publishers.
Guilford, J. (1967). The Nature of Human Intelligence. Macmillan.
Hummell, L. (2006). Synectics for Creative Thinking in Technology Education. The Technology Teacher
Joyce, B. (2000). Models of Teaching / Bruce Joyce, Marsha Weil, with Emily Calhoun, (6th ed.). MA: Pearson Education Company.
Manuel, P. (1988). Popular Music of the Non-Western World: An Introduction Survey. Oxford University Press.
Miller, M. (2005). Music Composition. Penguin Group.
Tajari, T & Tajari, F. (2011). Comparison of the effectiveness of synectics teaching methods with a lecture about educational Progress and creativity in social studies lesson in Iran at 2010. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 28
Tapleshay, Jack. (1986). Synectic: Applying its methods and techniques to the composition class. Theses digitalization projects, 359
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.