งานสร้างสรรค์บทเพลงประกอบบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ

ผู้แต่ง

  • บรรทม น่วมศิริ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

งานสร้างสรรค์, บทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ, บทเพลงสรรเสริญพระพุทธคุณ, บทเพลงสรรเสริญพระธรรมคุณ, บทเพลงสรรเสริญพระสังฆคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง งานสร้างสรรค์เพลงประกอบบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ เป็นการวิจัย เชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ 2) ศึกษาโครงสร้างของบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและ 3) เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงประกอบบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของบทสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ การสวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ สวดเป็นภาษาบาลี สำหรับบูชาพระรัตนตรัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโหวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า คำนมัสการคุณานุคุณ พบว่า โครงสร้างของบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ใช้ฉันทลักษณ์อินทรวิเชียรฉันท์ 11 มีบทประพันธ์ 7 บท บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ ใช้ฉันทลักษณ์กาพย์ฉบัง 16 มีบทประพันธ์ 7 บท บทสรรเสริญพระสังฆคุณ ใช้ฉันทลักษณ์กาพย์ฉบัง 16 มีบทประพันธ์ 9 บท ในการสร้างสรรค์บทเพลงประกอบบทสวดมนต์ ได้นำเครื่องดนตรีไทย ประกอบด้วย ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ระนาดทุ้มเหล็ก กลองทัด ซอด้วง ซออู้ ฉิ่ง และกรับ มาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลให้เหมาะสมกับความหมายและทำนองของบทสวดแต่ละบท โดยยึดของเดิมเป็นหลัก และมีการประพันธ์ทำนองและคำร้องเพิ่มขึ้นในส่วน ดนตรีนำ บทนำ บทสรุป และดนตรีท้าย ของทั้ง 3 บทเพลง ซึ่งจะสื่อความหมายและอารมณ์เพลงเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1) บทเพลงสรรเสริญพระพุทธคุณ มีแนวคิดให้เข้าใจถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ดนตรีนำ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ และบทสรุป 2) บทเพลงสรรเสริญพระธรรมคุณ มีแนวคิดของการปฏิบัติธรรมอันไม่จำกัดเวลา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ดนตรีนำ บทสรุป บทสรรเสริญพระธรรมคุณ และดนตรีท้าย 3) บทเพลงสรรเสริญพระสังฆคุณ มีแนวคิดถึงคุณของพระสงฆ์อันเป็นที่กราบไหว้สักการะ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ดนตรีนำ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ และบทสรุป

References

ชวน เพชรแก้ว. (2532). การศึกษาวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

พระสมชิด จารุธัมโม (อุทากิจ). (2550). ศึกษาวิธีการสอดแทรกจริยธรรมในบทขับร้องสรภัญญะอีสาน: ศึกษาเฉพาะกรณีบทขับร้องสรภัญญะอีสานในเขต ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทวีศีกดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ดนตรีเสริมสร้างปัญญา. กรุงเทพฯ: สมาร์ทดีนิวส์.

รุจิรา วงศ์แก้ว. (2533). องค์ประกอบของการร้องสรภัญญะ: ศึกษากรณีอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม [ปริญญานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17