นวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากจังหวัดน่านสู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ตฤศ หริตวร หน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน, ภูมิปัญญาการเขียนเทียนของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์

บทคัดย่อ

คัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ทุนวัฒนธรรมสิ่งทอของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ในอำเภอปัว จังหวัดน่าน 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากภูมิปัญญาด้านลวดลายของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมายใหม่เจเนอเรชั่นวาย 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างสรรค์ตราสินค้าใหม่จากน่านสู่ตลาดสากล ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน วิธีดำเนินการวิจัยคือเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 ท่าน และสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นวายด้วยแบบสอบถาม ได้ผลวิจัย 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ทราบถึงลวดลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งและความหมาย เพื่อนำมาเป็นฐานความรู้และเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์งานออกแบบ ชุดที่ 2 ได้แก่ ผลสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลวิเคราะห์และผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผลงานการพัฒนาลวดลายผ้าขึ้นใหม่จากภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง และผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ ชุดที่ 3 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพของการทำ ธุรกิจและส่วนผสมทางการตลาดของร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ตราสินค้าใหม่ชื่อ ‘มนต์คราม’ และออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่ บทสรุปของงานวิจัยนี้ คือการนำวิธีการพิมพ์ระบบดิจิทัล ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ มาช่วยต่อยอดภูมิปัญญาลวดลายดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อขยายกำลังการผลิตจากระดับครัวเรือนให้กลายเป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยเมื่อตลาดถูกขยายให้กว้างขึ้นก็จะสามารถรองรับความต้องการของตลาดเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี

References

กมลวรรณ วนิชพันธุ์. (2557). รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพ ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์. [การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จำนงค์ ปัญญาแก้ว. (2561). การสร้างกระบวนทัศน์สินค้าชุมชนร่วมสมัยจากทุนวัฒนธรรมกรณีศึกษา: ชนเผ่าม้ง ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐานเศรษฐกิจ. (2560, 24 พฤศจิกายน). ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง(1). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก https://www.thansettakij.com/content/columnist/234315

ธีระพันธุ์ ล. ทองคำ คณะอักษรศาสตร์. (2559). หัตถานารีอาเซียน: ผ้าทอมือของกลุ่ม ชาติพันธุ์ไท-ลาวและกะเหรี่ยงโป อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี บูรณาการความรู้ ด้านภูษา ภาษา และการอพยพย้ายถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). มูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตศิลป์สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ. (2563, มกราคม). ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และการสร้างสรรค์ผ้าปักม้ง. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563 จาก https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/ca889fd9b844559dc1d47b4a52d5e40b/_43ff0e22954ffe9583e67ef39b87dc44.pdf

รัตนพร ศิลป์ท้าว. (2563, ตุลาคม). ผู้ประกอบการร้านรัตพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. สัมภาษณ์.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.). ปั้นแบรนด์ให้โดนใจ เล่าเรื่องให้คนจำ: โครงการพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจการค้าหัตถกรรม. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562 จากhttps://www.sacict.or.th/backend/filemanager/Craft%20Trend%20Show%202019/Craft%20Business/20200527143936q2C9xWGLuA_.pdf

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.) ผ้าปักม้ง เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563 จาก https://www.sacict.or.th/th/detail/2018-09-14-11-35-v-bZA

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2557). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายผ้าชาวเขา. สยามคัลเลอร์พริ้นท์ จำกัด. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563 จากhttps://fliphtml5.com/wqdx/nszx/basic

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=5748&filename=develop_issue

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). คู่มือการผลิตผ้าย้อมคราม (พิมพ์ครั้งที่2). บ.มูฟเม้นท์ เจนทรีจำกัด.

สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. (2549). แบบฝึกหัดการออกแบบพื้นฐาน 2 มิติ. บ.พลัสเพรส. Brooking, C. S. (2016). Creating a Brand Identity: A Guide for Designers (1st ed.). London: Laurence King Publishing.

Morr, K. (2019, August 17). The 7 types of logos (and how to use them). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://99designs.com/blog/tips/types-of-logos/

Wong, W. (1993). Principles of Form and Design. New York: John Wiley & Sons Inc.

Wong, W. (1991). Principles of Two-Dimensional Design. New York: John Wiley & Sons Inc.

UNESCO Creative Cities Network. (2006). Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism: Discussion Report of the Planning Meeting for 2008 International

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17