มรดกภูมิปัญญาของการย้อมสีด้วยคำแสดในวัฒนธรรมไทลื้อสู่การพัฒนาสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อ บ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • เตชิต เฉยพ่วง หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การย้อมสีด้วยคำแสด, วัฒนธรรมไทลื้อ, สินค้าแฟชั่น, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

จังหวัดน่านเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือซึ่งถือเป็นเมืองต้องห้ามพลาดในประเทศไทย เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความสมบูรณ์ด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติ อีกทั้งยังมีกระแสนิยมด้านการ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย “โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : โครงการย่อยที่ 1.1 โครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากจังหวัดน่านสู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อ บ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โดยได้รับการสนับสนุนจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 และ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร. หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่งผสมผสานไปด้วยแนวคิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เช่นเดียวกับที่จังหวัดน่านเองก็มีการรวมกลุ่มวัฒนธรรมที่หลากหลายชาติพันธุ์ แต่จากการศึกษาและสำรวจยังพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการยังขาดแนวคิดในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการออกแบบพัฒนาสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ด้วยมรดกภูมิปัญญาของการย้อมสีด้วยคำแสดในวัฒนธรรมไทลื้อ โดยเป็นกรณีศึกษาศูนย์ผ้าทอไทลื้อ บ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านการเลือกใช้วัสดุการย้อมสีโทนแดงธรรมชาติจากเมล็ดคำแสด ซึ่งให้สีโทนแดงอมส้ม ไปจนถึงสีแสด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เนื่องจากคำแสดเป็นพืชท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติเป็นปริมาณมาก หาได้ง่ายมากกว่าในท้องถิ่นอื่น ๆ ชาวบ้านในชุมชนดังกล่าวจึงนิยมย้อมผ้าด้วยคำแสดจนกลายเป็นวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ แม้จะอยู่ในจังหวัดน่านเหมือนกัน การออกแบบสินค้าแฟชั่นภายใต้งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงเน้นการนำเสนอเอกลักษณ์การใช้สีในเชิงวัฒนธรรมชองชาวไทลื้อ อันได้แก่ การจับคู่สีแดงกับสีขาวหรือดำในตัวสินค้าที่ได้แรงบันดาลใจจากการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ซึ่งเชื่อมโยงกับวิถีของชาวบ้าน แต่นำมาตีความใหม่ในบริบทที่ทันสมัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมผ้าทอของชุมชนไทลื้อ จังหวัดน่าน ศึกษาแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วยมรดกภูมิปัญญาการย้อมสีด้วยคำแสดให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สิ่งทอและพัฒนารูปแบบสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยมีกระบวนการตั้งแต่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นและการพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาดไปจนถึงกระบวนการทดลองและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการนำอัตลักษณ์วัฒนธรรมมาใช้ในการออกแบบนั้น มิได้ถูกจำกัดอยู่เพียงการนำเอาโครงสร้างเครื่องแต่งกายวัฒนธรรมมาดัดแปลงแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำปัจจัยในด้านวิถีชีวิตและเอกลักษณ์อื่น ๆ ซึ่งแต่ละชุมชนมีความพิเศษแตกต่างกันออกไป มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการออกแบบและสร้างแนวทางที่มีความร่วมสมัย รวมทั้งยังสามารถยกระดับให้เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสิ่งทอจังหวัดน่านได้

References

กมลเนตร จันทร์แก้ว. (2562, 21 พฤศจิกายน). วัสดุธรรมชาติที่ให้สีต่างๆ. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. https://www.seub.or.th/

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (ม.ป.ป.). องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน(องค์การมหาชน).อพท.(DASTA). http://www.dasta.or.th/creativetourism/th/creative

คิดเล่นเห็นต่าง. (2556, 20 ตุลาคม). จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. Voice online. https://voicetv.co.th/watch/85501

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2551). มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่ : ภาควิชา ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2556). การศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้วาทกรรม ความเป็นสินค้า. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 20(2).

ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ไทลื้อ. ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา. http://site.sri.cmu.ac.th/~lelc/index.php/2015-11- 18-16-02-20

สุทธิพันธุ์ เหรา. (2556). การสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน ผ่านศิลปะการแสดง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17