ปัจจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมจากผักตบชวาร่วมกับขยะเปียก

ผู้แต่ง

  • ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ปัจจัยการออกแบบ, แนวโน้มการออกแบบ, ผลผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม, ผักตบชวา, ขยะเปียก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนากระบวนการแปรสภาพผักตบชวาเป็นกระถางต้นไม้อินทรีย์ 2)เพื่อกำหนดปัจจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์กระถางอินทรีย์จากผักตบชวา 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระถางอินทรีย์จากผักตบชวาที่พัฒนาใหม่ โดยดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ขั้นตอนที่หนึ่งเพื่อพัฒนากระบวนการแปรสภาพผักตบชวา โดยทำการทดสอบค่า N, P, K, pH, EC, Moisture และ GI ในห้องทดสอบที่รับรองมาตรฐาน ขั้นตอนที่สองเพื่อกำหนดปัจจัยการออกแบบและเพื่อประเมินความพึงพอใจ ซึ่งมีกลุ่มประชากร คือ ผู้เลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดจตุจักร โซนไม้ประดับ จำนวน 1,124 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สนใจผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เลือกซื้อสินค้าบริเวณจำหน่ายไม้ประดับในตลาดนัดจตุจักร จำนวน 150 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ระดับความเชื่อมั่น 10% ของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง มาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของลิเคอร์ด ปรากฏค่า Cronbach’s Alpha = 0.815, 0.839 ปรากฏผลลัพธ์ขั้นตอนที่หนึ่ง คือ สูตรส่วนผสมที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงสูด โดยมีระดับค่าฟอสฟอรัส (P205) 0.89% ค่าโพแทสเซียม (K20) 0.71% ค่าแคลเซียม (CaO) 2.23% และค่าแมกนีเซียม (MgO) 0.37% โดยมีอินทรียวัตถุระดับ 33.76% จากนั้นนำมาเป็นวัตถุดิบในการออกแบบกระถางรักษ์โลก ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดกลุ่มตัวแปร (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่ามี 12 องค์ประกอบที่สัมพันธ์กันจากตัวแปรคัดสรรทั้งหมด 39 ตัวแปร โดยมี Chi-Square=2076.222 และ Sig.= .00 ซึ่งตัวแปรปัจจัยทั้ง 39 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กัน และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยยืนยันโมเดลการวัดตัวแปรปัจจัยด้านความรู้สึก (Feeling) ปัจจัยด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านความตระหนักสิ่งแวดล้อม (Awareness) และปัจจัยด้านราคาผลิตภัณฑ์ (Price) โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ปรากฏค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ gif.latex?x^{2}= 33.185, df = 27, relativegif.latex?x^{2}= 1.229, p = .191, RMSEA = .039, RMR = .025, GFI = .965, AGFI = .900, NFI = .953, TLI = .977 และปรากฏความรู้สึกพึงพอใจของผู้บริโภคมีค่า Sig. < .05 สามารถแสดงสมการพยากรณ์รูปคะแนนดิบ คือ gif.latex?\hat{y}=1.493+.187(X1)+ .306(X2)+ .270(X3) และสมการพยากรณ์รูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z=.296(X1)+ .316(X2)+ .312(X3)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). วิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Windows. สำนักพิมพ์ ธรรมสาร.

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา, สมชาย เซะวิเศษ และสุเมธ ตรีศักดิ์เสธ. (2565). การพัฒนากระบวนการแปรสภาพผักตบชวาร่วมกับขยะเปียกสู่ผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความปกติใหม่ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.

วิรัช วรรณรัตน์. (2538). วิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor analysis), วารสารการวัดผลการศึกษา. 48(1), 37-42.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2544). วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. โรงพิมพ์ เลี่ยงเชียง.

A. Borowik, J. Wyszkowska. (2016). Soil moisture as a factor affecting the microbiological and biochemical activity of soil. Plant Soil

Environ, 62(6), 250–255.

Aboulam, S., Morvan, B. & Revel, J-C. (2006). Use of a Rotating-Drum Pilot Plant To Model the Composting of Household Waste On an Industrial Scale. Compost Science & Utilization, 14(3), 184-190.

Dahmani, N., Belhadi, A., Benhida, K., Elfezazi, S., Touriki, F. E. & Azougagh, Y. (2022). Integrating lean design and eco-design to improve product design: From literature review to an operational framework. Energy & Environment, 33(1),189-219

.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A., (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. SAGE Publications, Inc,.

Egwutvongsa, S. (2021). Influence Factors on Industrial Handmade Products Designed from Sugar Palm Fibers. Strategic Design Research Journal. 14(2), 456-470.

Egwutvongsa, S. & Seviset, S. (2021). Ideas for Creation: A Comparison of the Learning Results of Three-Dimensional Images between Active Learning and Child-Centered Education of Product Design Students. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 16(11), 273-288.

Felix, R., González, E. M., Castaño, R., Carrete, L. & Gretz, R. T. (2022). When the green in green packaging backfires: Gender effects and perceived masculinity of environmentally friendly products. International Journal of Consumer Studies, 46(3), 925-943.

Graedel, T. E., Comrie, P. R. & Sekutowski, J. C. (1995). Green product design. AT&T Technical Journal, 74(6), 17-25.

Habte, M. & Alexander, M. (1977). Further evidence for the regulation of bacterial populations in soil by protozoa. Archives of Microbiology, 113, 181–183.

Holliman, A., Thomson, A., Hird, A. & Wilson, N. (2019). A Matter of Factor: A Proposed Method for Identifying Factors that Influence Design Effort Levels in Product Design. Proceedings of the Design Society International Conference on Engineering Design, 1(1), 1025-1034.

Kaplan, D., (2000). Structural Equation Modeling. Sage Publications, Thosand Oaks.

Karakolidis, A., Pitsia, V., & Emvalotis, A., (2016). Examining students’ achievement in mathematics. International Journal of Educational Research. 79, 106-115.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL Structural Equation Modeling, Sage Publications.

Lim, C., Kim, KH., Kim, MJ. et al. (2019). Multi-factor service design: identification and consideration of multiple factors of the service. Service Business, 13(1), 51–74.

Maher, M. L., Balachandran, M. B. & Zhang, D. M. (1995). Case-Based Reasoning in Design. Psychology Press.

Nasimi, G. E., Saleh, S. G. & Humbatova, S. I. (2021). Design as a Factor in the Development of a Country's Economy, Research in World Economy, 12(1), 82-89.

Saraf, C., Agrawal, S., Barodiya, D., Shrivastava, P. & Verma, T. N. (2022). AHP-based Identification of Tools for Sustainable Product Development. Advancement in Materials, Manufacturing and Energy Engineering, 3, 543-552.

Schumacker, R. E.,& Lomax, R. G., (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. Lawrence Erlbaum Associates.

Tenko.R., & Marcoulides, G. A. (2006). A first course in structural equation modeling. (2nd Edition). Lawrence Erlbaum Associates.

Zhu, W. & He, Y. (2017). Green product design in supply chains under competition. European Journal of Operational Research, 258(1), 165-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17