การสร้างสรรค์นาฏกรรมในคริสตจักร: เผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์บทปฐมกาล ชุด “The Original Sin”

ผู้แต่ง

  • ภัชภรชา แก้วพลอย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

นาฏกรรม, คริสตจักร, พระคริสตธรรมคัมภีร์

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นาฏกรรมในคริสตจักร: เผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์บทปฐมกาล ชุด “The Original Sin” มีวัตถุประสงค์ 1) การสร้างสรรค์นาฏกรรมชุด “The Original Sin” เพื่อการนมัสการและถวายเกียรติแด่พระเจ้าให้แก่คริสตจักรชลบุรี 2) เพื่อเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์บทปฐมกาลแก่อนุชนและคริสตชนทั่วไป มีกระบวนการสร้างสรรค์นาฏกรรมแบบมีส่วนร่วมระหว่างนิสิตสาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา คริสตจักรชลบุรี และกลุ่มอนุชนที่เป็นนักแสดงสมัครเล่น โดยมีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเอกสาร ตำรา สื่อสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องและพระคริสตธรรมคัมภีร์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์นาฏกรรมในคริสตจักรครั้งนี้
พระคริสตธรรมคัมภีร์บทปฐมกาล นั้นถือเป็นหนังสือเล่มแรกของโตราห์ ซึ่งมีเนื้อหาส่วนแรกที่กล่าวถึงข้อความศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวที่เรียกรวมกันว่าทานัค บทปฐมกาลในพันธสัญญาเดิมของพระคัมภีร์คริสเตียนนั้นกล่าวถึงจุดกำเนิดของจักรวาลและโลกรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่พระเจ้าทรงสร้าง นับเป็นศูนย์กลางของประเพณีทางศาสนาของศาสนายิว คริสต์ และอิสลาม โดยการสร้างสรรค์นาฏกรรมนี้จะเน้นที่เรื่องราวของการทรงสร้างที่นำเสนอบทปฐมกาลที่ 1-3 โดยมีใจความสำคัญเพื่อการพรรณนาเรื่องราวที่กล่าวถึงจุดเริ่มต้น จุดกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ และการกล่าวถึงความบาปแรกที่กำเนิดขึ้นจากมนุษย์คู่แรกของโลก

ผลปรากฏว่าการสร้างสรรค์นาฏกรรมในคริสตจักรนั้นเป็นการแสดงรูปแบบใหม่ของคริสตจักรชลบุรี โดยมีการบูรณาการศาสตร์ทางด้านดนตรี การเต้นรำ การขับร้องประสานเสียง และศิลปะการละคร การแสดงทั้งหมดจะนำเนื้อหาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ในบทปฐมกาล มาเป็นแก่นเรื่อง บทละครและประพันธ์คำร้อง ประกอบกับการเคลื่อนไหวทางนาฏศิลป์และแนวคิดองค์ประกอบศิลป์มานำเสนอเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่เกิดประสิทธิผล
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่านาฏกรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนาและถวายเกียรติแด่พระเจ้าที่มีประสิทธิภาพ จากแบบสอบถามกลุ่มผู้ชมทั้งหมดพบว่าจำนวนผู้ชมที่ได้รับความรู้นั้นคิดเป็นร้อยละ 95.5 จำนวนผู้ชมที่เกิดปัญญาคิดเป็นร้อยละ 98.5 นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมกลุ่มสมาชิกคริสตจักรให้เกิดทักษะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้แก่ คณะอนุชนและคณะรวี

References

กรสรวง ดีนวลพะเนาว์. (2556). ดนตรีและการขับร้อง = Music and singing. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คริสตจักรชลบุรี. (2559). เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563, จาก http://www.chonburichurch.com/index.html

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2553). นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ (จินตนาการ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. คณะศิลปกรรม-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เดวิด เค. เบอร์โล, อ้างถึงใน วรพันธุ์ แย้มหงษ์ปภา, (2561). การสื่อสารสังคมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ขององค์กรพระพุทธศาสนา [ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2549). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปฐมพร สิงห์คำป้อง, ศาสนาจารย์. ศิษยาภิบาล คริสตจักรชลบุรี. สัมภาษณ์วันที่ 2 มีนาคม 2563.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2550). พระคริสตธรรมคัมภีร์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: บริษัท โธมัส เนลสัน จำกัด.

อภิธรรม กำแพงแก้ว. (2554). การออกแบบท่าเต้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9(1), 25-28.

Ambrosio, N. (1999). Learning about dance: An introduction to dance as art form and entertainment. USA. Kendall/Hunt.

Griffiths, P. (2016). The history of dance in the church. Retrieved 1 August 2020, from https://www.christianheritageedinburgh.org.uk/category/arts/the-history-of-dance-in-the-church/

Hanna, J., (2004). Dance and Religion (Overview). 2nd edition. New York: Macmillan Co.

McNeill, W., (1967). A World History. UK. Oxford University Press.

The New English Bible. (1970). The Old Testament. UK: Oxford and Cambridge University Presses.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17