สุนทรียะการเกี้ยวพาราสีในฟ้อนลาวคำหอม
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.263354คำสำคัญ:
เกี้ยวพาราสี, สุนทรียะ, กลวิธีรำคู่, กลวิธีรำหมู่, ฟ้อนลาวคำหอมบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและสุนทรียะการเกี้ยวพาราสีในการแสดงชุด ฟ้อนลาวคำหอม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต ตลอดจนประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการแสดงของผู้ศึกษามาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เพลงลาวคำหอมที่นำมาประดิษฐ์ท่าฟ้อนมี 2 รูปแบบ คือ ฟ้อนลาวคำหอมแบบหญิงล้วน และฟ้อนลาวคำหอมแบบชาย-หญิง ซึ่งมีรูปแบบการเกี้ยวพาราสีที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรักความรู้สึกผ่านลีลานาฏศิลป์ของตัวละครพระและนาง ด้วยกระบวนการรำตีบท 3 ลักษณะ คือ การรำตีบทใช้บทตามคำร้อง การรำตีบทในรูปแบบรำเพลง และการรำตีบทในทำนองเพลง อีกทั้งมีกลวิธีการเข้าพระเข้านางในรูปแบบการยืนรำ จำนวน 8 ท่า ได้แก่ 1) ท่ากระทบไหล่ 2) ท่ากระแซะไหล่ 3) ท่าหอมแก้ม 4) ท่าจับหน้าอก 5) ท่าลูบแขน 6) ท่าวิ่งต้อน 7) ท่ากุมมือ และ 8) ท่าเชยคาง การแสดงชุดนี้จึงมีคุณค่าทางด้านโสตทัศนศิลป์ซึ่งเป็นสุนทรียะทางศิลปะที่รับสัมผัสด้วยการรับฟังดนตรีที่มีคำประพันธ์และทำนองเพลงอันไพเราะ ไปพร้อมกับการรับชมภาพเคลื่อนไหวผ่านบุคลิกของผู้แสดงที่สวมเครื่องแต่งกายงดงาม และความสามารถในการสื่อความหมายของบทร้องด้วยกระบวนท่ารำที่มีความงดงามจากการผสมผสานท่ารำมาตรฐานทางนาฏศิลป์ไทยและท่าทางธรรมชาติ ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครพระ-นางในการเกี้ยวพาราสีตามกลวิธีรำคู่และรำหมู่ได้อย่างกลมกลืน
References
ณรงค์ชัย ปิฏกรัชต์. (2542). สารานุกรมเพลงไทย. โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2555). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สมพงษ์ กาญจนผลิน. (2555). ดนตรีไทย: ประวัติเพลง บทร้องและโน้ตเพลง. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สำเนียง มณีกาณจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. (2539). ประชุมเพลงเถาของไทย (ประวัติและบทร้อง). บริษัท เลิฟ แอนด์ ลิพ เพรส จำกัด.
วิทยาลัยนาฏศิลป. (2562). คู่มือประกอบการสอนวิชานาฏศิลป์ละคร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลป. กลุ่มสาระนาฏศิลป์ไทยละคร ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.