ถอดบทเรียนการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดโขนมูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอน สืบมรรคา
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.263822คำสำคัญ:
โขน, โขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอนสืบมรรคา, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์บทคัดย่อ
การถอดบทเรียนการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอน สืบมรรคา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทางด้านศิลปะการแสดงและรูปแบบการแสดงโขน ศึกษาพัฒนาการและรูปแบบของโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อถอดบทเรียนองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการศิลปะการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอน สืบมรรคา โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ บทความทางวิชาการ สัมภาษณ์บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
และสื่อต่างๆ ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวคิด กระบวนการ และการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอน สืบมรรคา ที่สืบสานพระราชปณิธานในการฟื้นฟูโขนไทย การสืบทอดรักษาจารีตประเพณี และการสร้างสรรค์ศิลปะไทยให้กลับคืนสู่ความนิยม ผ่านกระบวนการ ถอดบทเรียนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ทราบถึงแนวคิดโขนมูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอน สืบมรรคา ที่มีจุดเริ่มต้นจากพระราชดำริในการอนุรักษ์กรรมวิธีจัดทำเครื่องแต่งกายโขนแบบโบราณ ผ่านการศึกษาวิจัยข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์และสกัดกลั่นกรองออกมาโดยนำพื้นฐานขององค์ความรู้งานช่างในแต่ละสมัยมาสร้างสรรค์งาน แล้วประยุกต์สร้างชิ้นงานเครื่องแต่งกายโขนใหม่ในยุครัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ การศึกษาทำให้ทราบถึงกระบวนการจัดการแสดงโขน แนวทางการสืบทอดการแสดง บทละคร นาฏยประดิษฐ์ จัดสร้างฉาก การแต่งกาย วิธีการฝึกซ้อม เทคนิคเบื้องหลัง การประชาสัมพันธ์ และการติดตามประเมินผลที่อาศัยการบูรณาการผสมผสานกลวิธีองค์ความรู้จากภูมิปัญญาสมัยก่อนกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อให้การแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ถือเป็นปรากฏการณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม สร้างการรับรู้ถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติสู่สายตาของสาธารณะ ภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติสืบต่อไป
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2552). โขน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย. มวลชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมศิลปากร. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ดาวรัตน์ ชูทรัพย์ อ้างถึงใน เต็กโกว. (2559). การแสดงโขน ตอน อุโมงค์ สมัยรัชกาลที่ 5. สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/35622052
ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). โขนภาคต้นและทฤษฎี. พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร.
นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2542). โขน. คอมแพคท์พริ้นท์.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (2552). วิวัฒนาการเรื่องแต่งกายโขน – ละคร สมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:แปลนโมทิฟ.
มูลนิธิกรมส่งเสริมศิลปาชีพ, ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2553). โขนพระราชทาน ตอน นางลอย. [วิดิโอภาพยนต์สี]. ไทย: โอเชี่ยนเดียมี.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ. (2562). คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ. ใน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและ เสวนานานาชาติ. อนาคตโขนไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2477. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัตน์ จงดา. (2562). คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวล ใน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและเสวนานานาชาติ, มนุษยชาติ. การพัฒนาเครื่องโขนในรัชกาลที่ 9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2558).
อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ. (2565). ถอดบทเรียนการบริหารจัดการเพื่อการอนุรัษ์และสืบทอดโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตอนสืบราชมรรคา. ศิปกรรมศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.