รูปแบบการตัดต่อลำดับภาพ
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ตัดต่อลำดับภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้เห็นถึงรูปแบบการตัดต่อลำดับภาพที่เป็นกระบวนการสำคัญในการผลิตภาพยนตร์ การตัดต่อนอกจากจะช่วยในการนำเสนอเรียบเรียงเรื่องราวและมุมมองต่าง ๆ ในภาพยนต์แล้ว ยังช่วยตีความบทภาพยนตร์ตามแนวคิดของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ อีกด้วย การตัดต่อจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ตัดต่อที่จะสร้างสรรค์กลวิธีในการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความน่าติดตามให้กับผู้ชม เมื่อนำฉากต่าง ๆ จากกระบวนการถ่ายทำมาเรียงกัน จะพบว่าภาพยนต์นั้นอาจมีความยาวหรือสั้นที่มากเกินไป จึงต้องมีการตัดออกหรือหามาเพิ่ม หรือปรับตำแหน่งเข้าออกและความยาวของแต่ละฉากให้เหมาะสม การตัดต่อจึงเป็นการสร้างเรื่องราวขึ้นมาให้สมบูรณ์ โดยให้ภาพและเสียงมีความต่อเนื่องกันโดยตลอด การจะทำเรื่องราวให้สมบูรณ์โดยการตัดต่อนั้น มีเทคนิคหลากหลายรูปแบบ เช่น การตัดต่อลำดับแบบต่อเนื่อง การตัดต่อลำดับภาพแบบประกอบคำบรรยาย การตัดต่อลำดับภาพแบบคู่ขนาน การตัดต่อลำดับภาพแบบไดนามิค และการตัดต่อลำดับภาพแบบมองทาจ จากรูปแบบดังกล่าวได้มีการนำเสนอให้เห็นถึงการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยรูปแบบการตัดต่อลำดับภาพในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ที่สมบูรณ์
References
นราภรณ์ มีสวัสดิ์. (2558, 30 กันยายน). การตัดต่อภาพยนตร์, http://5603105.blogspot.com/p/blog-page_70.html
ประภัสสร เลิศอนันต์. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดการผลิตภาพยนตร์หน่วยที่13-34. นนทบุรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณี สำราญเวทย์. (2542). การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง.นนทบุรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Georgiaforcellati. (2559, 30 กันยายน). http://georgiaforcellati.weebly.com/blog/filmmaking-term
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.