การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าลายไส้ปลาไหลจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกลุ่มทอผ้าชุมชนคุณธรรมวัดศรีสองคร จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • กฤษณา เกตุคำ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ธเนศ เรืองเดช คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • นิรุต ขันทรี คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264396

คำสำคัญ:

ผ้าลายไส้ปลาไหล, ผลิตภัณฑ์จากผ้า, สีย้อมจากธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าลายไส้ปลาไหลจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกลุ่มทอผ้าชุมชนคุณธรรมวัดศรีสองคร จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าลายไส้ปลาไหลจากสีธรรมชาติและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าลายไส้ปลาไหล ศึกษาโดยการสัมภาษณ์กลุ่มทอผ้าชุมชนคุณธรรมวัดศรีสอง มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำนวน 5 รูปแบบ ได้แก่ 1.ตุ๊กตาสาวนุ่งซิ่น 2. กระเป๋าพวงใส่กุญแจ 3. กระเป๋าใส่เงิน 4. หมวก 5. พัด จัดทำแบบร่าง (Sketch) ผลิตภัณฑ์ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ปรับปรุง เพื่อดำเนินการจัดทำแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มนักท่องเที่ยว และผู้บริโภคสินค้าหัตถกรรมจำนวน 100 คน พบว่ามีความระดับความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่เงินมีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.40) ผลิตภัณฑ์หมวกมีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.34) ผลิตภัณฑ์กระเป๋าใส่พวงกุญแจมีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.29) และผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาสาวนุ่งซิ่นมีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.22)  อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ส่วนผลิตภัณฑ์พัดมีคะแนนความพึงพอใจมาก ( =4.20) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าลายไส้ปลาไหลสีจากธรรมชาติ ให้กับกลุ่มทอผ้าชุมชนคุณธรรมวัดศรีสองครและบุคคลทั่วไป มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.58)

References

ธนกิจ โคกทอง, อำไพ แสงจันทร์ไทย, เฉลิม หนูหมื่น และภานุพันธ์ จิตคำ. (2561). การศึกษาทฤษฎีสีในการจับกลุ่มสีผ้าขาวม้า กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าบ้านวังทองตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจาการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5, 870-879.

ธนิดา แหลมฉลาด และโฆสิต แพงสร้อย. (2563). การสังเคราะห์องค์ความรู้ลวดลายผ้าขาวม้าทอมือ ของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 763-776.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ประภาศรี จันทร์โอ. (2563). การศึกษาผ้าขาวม้าของชุมชนภาคกลาง เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 7(1), 73-88.

พงศ์ธาดา กีรติเรขา. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกำเนิดเพชร ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพ, 7(3), 239-248.

พวงผกา คุโรวาท. (2552). คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัทรวมสาส์น.

สิริมล อินทรสร้อย. (2561, 3 มีนาคม). ผ้าแพรไส้ปลาไหล.เข้าถึงด้วย URL:http://is.udru.ac.th/~islocaldb/indus_handw_detail.php?indus_handw_id=28

สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และปิยวัน เพชรหมี. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย:กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 62-85.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2558). Thai national culture educationi. คุรุสภา ลาดพร้าว.

Shigenobu Kobayashi. (1997). Colorist: A Practical Handbook for Personal and Professional Use. Kodansha International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

เกตุคำ ก. ., ผึ่งบรรหาร ช., เรืองเดช ธ. ., & ขันทรี น. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าลายไส้ปลาไหลจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกลุ่มทอผ้าชุมชนคุณธรรมวัดศรีสองคร จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 113–125. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264396