ระเบียบวิธีการวิจัย : การสร้างต้นแบบเครื่องมือกลไกสำหรับกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจากแนวคิดพฤฒพลัง

ผู้แต่ง

  • นิธิศ เกียรติสุข คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รัฐไท พรเจริญ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264994

คำสำคัญ:

พฤฒพลัง, ต้นแบบเครื่องมือกลไก, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม,, การออกแบบเพื่อเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

จากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ของประเทศไทย และภาวะสุขสมบูรณ์เกิดขึ้นได้อย่างไม่สมบูรณ์สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย บทความในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการวิจัยที่นำไปสู่การสร้างต้นแบบเครื่องมือกลไก เพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือกลไกสำหรับการสร้างกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมจากแนวคิดพฤฒพลัง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 1) 60 ปีขึ้นไป 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

          โดยมีขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ 1) การศึกษาทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษา เพื่อเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสม  3) การประเมิน เพื่อปรับปรุง และพัฒนาต้นแบบเครื่องมือกลไก โดยผลจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 จึงนำมาสู่แนวทางในการออกแบบ และรูปแบบกิจกรรมที่เข้าเกณฑ์ตามทฤษฏี ได้แก่ กิจกรรมเปเปอร์มาเช่ ซึ่งนำไปสู่ขั้นตอนการศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานจากการสัมภาษณ์ และการเก็บแบบสอบถามออนไลน์กลุ่มผู้บริโภคในขั้นตอนที่ 2 เพื่อสรุปการสร้างทางเลือกในการออกแบบเพื่อประเมินในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินรูปแบบเครื่องมือกลไกจากภาพจำลอง 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลจากการประเมินในแต่ละครั้งผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับความเป็นไปได้ในการผลิต,ความปลอดภัย,ขั้นตอนการใช้งาน และการต่อยอดทางอุตสาหกรรม ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะ และพัฒนาจนผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ นำมาสู่การสร้างต้นแบบเครื่องมือกลไกจริง และถูกประเมินประสิทธิภาพการใช้งานจริงอีกครั้งด้วยผู้ใช้งานจริง

          สรุปผลจากการศึกษาจากกระบวนการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบเครื่องกลไล ผลจากการประเมินจากผู้ใช้งานในขั้นสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าต้นแบบเครื่องมือกลไกที่ถูกออกแบบผ่านกระบวนการวิจัยในครั้งนี้มีลักษณะ, รูปแบบการใช้งาน และจุดมุ่งหมายของการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และการวิจัยได้แก่ การสร้างปฏิสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม ซึ่งพบข้อจำกัดของการใช้งานเพียงบางประการที่ส่งผลต่อการใช้งานบางประการ เช่น ด้านเสียง หรือด้านกายภาพทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการใช้งานจริง ที่เกิดจากข้อจำกัดของเครื่องมือวิจัยในขั้นตอนการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยการประเมินจากแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิเตอร์ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ และสรุปผลอีกครั้งเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบต้นแบบเครื่องมือกลไกตามแนวคิดพฤฒพลังต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564, 17 กุมภาพันธ์). สถิติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. http://www.dop. go.th/th/know/side/1/1/335

มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา. (2564, 19 มีนาคม). ทำไม…ต้องประหยัดกระดาษ พ.ศ. 2563. http://secretary.dms.go.th/secretary/paperless/data/2-2563.pdf

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ, ณัฏฐพัชร สโรบล และธนิกานต์ ศักดาพร. (2555). ลักษณะการดำเนินงานกิจกรรมของผู้สูงอายุ. [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization. Madrid : UNFPA

Zheng, Z et.al, (2016). Theoretical Model of Special Product Design For the Elderly. Art and Design Review, 4. 1-7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

เกียรติสุข น., & พรเจริญ ร. (2024). ระเบียบวิธีการวิจัย : การสร้างต้นแบบเครื่องมือกลไกสำหรับกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจากแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 227–242. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.264994