แสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตรา
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.265048คำสำคัญ:
การประพันธ์เพลง, ซินธิไซเซอร์, วินด์ออร์เคสตราบทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานของวงวินด์ออร์เคสตราที่ผสมผสานกับการใช้เสียงสังเคราะห์ของเครื่องดนตรีประเภทซินธิไซเซอร์ร่วมกันนั้นยังไม่มีมากมายแพร่หลายมากนักในปัจจุบันซึ่งต่างกับการใช้วงซิมโฟนีออร์เคสตราผสมผสานกับซินธิไซเซอร์ตามที่ได้ยินทั่วไปเช่นบทเพลงประกอบภาพยนตร์ต่าง ๆ โดยดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงแสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตรานี้จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้กับวงการดนตรีประเภทวงวินด์ออร์เคสตรา และวงการวิชาการดนตรี สามารถเป็นต้นแบบทางดนตรีที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว โดยบทประพันธ์เพลงจะเป็นการบรรยายจินตนาการของการเดินทางตั้งแต่โลกสู่ห้วงอวกาศ รวมถึงการสร้างสรรค์นวตกรรมการผสมเสียงและสีสันของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม เครื่องกระทบ และองค์ประกอบของเสียงดนตรีประเภทซินธิไซเซอร์ ให้มีความกลมกลืนกันอย่างลงตัว โดยใช้หลักการทางทฤษฎีและแนวคิดปรัชญาของดนตรีตะวันตกเพื่อพัฒนารูปแบบในการประพันธ์เพลง และจะสามารถเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ด้านการประพันธ์เพลงและการสร้างสีสันในมิติใหม่ให้กับวงวินด์ออร์เคสตรา ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลงแสงนิรันดร์อนันตาสำหรับซินธิไซเซอร์และวงวินด์ออร์เคสตราประกอบด้วย 4 ท่อน คือ ท่อนที่ 1. เอกโซสเฟียร์ ท่อนที่ 2. เส้นขอบฟ้าคาร์มันท์ ท่อนที่ 3. หมู่ดาวแห่งกาแล็กซี่ และท่อนที่ 4. อนันตาดารานิรันดร์ มีความยาวประมาณ 30 นาทีและให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละท่อนเพลง
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2564). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ธนาเพรส.
ศุภพร สุวรรณภักดี. (2559). ดุษฎีนิพนธ์งานประพันธ์เพลง: ลม-กระซิบ-พราย สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.