นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายงานเลี้ยงสังสรรค์ สำหรับกลุ่มคอนเชียสไลท์จากการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าภายใต้แนวคิดโมดูล่าร์ล่า

ผู้แต่ง

  • ภรภัทร จำเริญพฤกษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.265254

คำสำคัญ:

กลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม, การนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า, การถอดประกอบ, ตราสินค้าแฟชั่น, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในลำดับต้น ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศษเหลือที่เกิดจากกระบวนการตัดเย็บแปรรูป บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าจากนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการนำเศษเหลือจากอุตสาหกรรมแฟชั่นมาสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชิ้นใหม่ที่สามารถยืดอายุของสินค้าแฟชั่นและสิ่งทอให้อยู่ในวัฏจักรของการผลิตและการบริโภคได้นานขึ้น โดยในการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ควบคู่กับการทดลองสร้างสรรค์ทางแฟชั่น  มีขอบเขตการศึกษาเศษเหลือจากอุตสาหกรรมแฟชั่นผ้ายืด และผ้ายีนส์ การออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายมุ่งเน้นตอบสนองกลุ่ม

สภาวะโลกร้อนในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เป็นปัจจัยสี่ของสิ่งมีชีวิตทำให้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างเร่งมือช่วยกันแก้ไขปัญหา Fast Fashion  ในอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนกระแสนิยมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและยังเป็นปัจจัยเร่งปัญหาผู้บริโภคสามารถช็อปปิ้งเสื้อผ้าได้ง่ายและบ่อยกว่าเดิมใประเทศที่กำลังพัฒนาสินค้าเสื้อผ้ายอดขายของแบรนด์เติบโตมากกว่า 100 % ในช่วงไม่กี่ปีผ่านมาเหตุผลมาจากประชากรที่มีจำนวนและกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งความสำเร็จในการทำการตลาดของบริษัทแฟชั่นผ่านการนำเสนอเสื้อผ้าบนรันเวย์ ภาพถ่ายสินค้าหรือการใช้คนดังโฆษณาเสื้อผ้าผ่านโซเซียลมีเดียจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้าตามกระแสที่มาเร็วและไปเร็วทำให้เกิดขยะจากสิ่งทอเพิ่มขึ้นปัญหาเศษผ้าจากสิ่งทอเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เศษผ้า (Rags) คือสิ่งที่เหลือจากการตัดเย็บขึ้นรูปตามต้องการผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บนับว่าเป็นขยะที่ก่อปัญญาหากับสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล เศษผ้าจะถูกแยกออกตามสี เนื้อผ้าจะถูกคัดแยกไว้หลายขนาด เพื่อจัดส่งต่อบางส่วนถูกส่งไปโรงงานเพื่อทำการ Recycle บางส่วนถูกส่งไปทำผ้าวน หรือพรมเช็คเท้า และมีบางส่วนที่ยังคงเหลือเศษผ้าชิ้นเล็กๆ ที่ไม่สามารถนำไปผลิตต่อได้ ทางโรงงานก็จะต้องหาวิธีจัดการให้เศษผ้าเหล่านี้หมดไป หรือถ้าหากไม่มีใครต้องการซื้อต่อ เศษผ้าเหล่านี้ก็จะถูกนำไปทิ้งกลายเป็นขยะกองโตรวมกับขยะประเภทอื่นๆต่อไปทำให้เกิดมลภาวะทางพิษต่อสิ่งแวด ล้อม ปัจจุบันมีหลายโรงงานที่เล็งเห็นความสำคัญ ได้ผันตัวเองจากการผลิตสินค้าจากวัสดุใหม่มาเป็นสินค้าจากวัสดุเหลือใช้แทนที่จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถพัฒนาสร้าง สรรค์เป็นมูลค่าได้ นอกจากนี้การสร้างสรรค์สินค้าแบบยั่งยืนได้ถูกกระตุ้นและได้รับการสนับสนุนให้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคสตรีที่มีแนวคิดรักษ์โลกแต่ยังคงมีความหลงใหลในแฟชั่นที่กำลังขยายตัวขึ้นอยู่ทุกๆวันและยังมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆขนานไปพร้อมกันกับภาวะโลกร้อนที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ผู้บริโภคที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือ กลุ่มคอนเชียสไลท์ (Consciouslite) โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ จำนวน 100 คน

          ผลจากการศึกษาพบว่าในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมแฟชั่น สำหรับกลุ่มคอนเชียสไลท์ โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ในการกำหนดอัตลักษณ์ตราสินค้า ในโอกาสการสวมใส่ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย ทั้งเครื่องแต่งกายแบบลำลอง เครื่องแต่งกายแบบทำงาน และเครื่องแต่งกายงานเลี้ยงสังสรรค์ ในลักษณะของตราสินค้าจากนักออกแบบ(Designer brand) ต้องประกอบด้วยกระบวนการดังนี้ 1) การคัดเลือกและการวิเคราะห์วัตถุดิบเศษเหลือจากอุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ผ้ายืด และผ้ายีนส์ 2) การทดลองสร้างเทคนิครายละเอียดตกแต่ง ได้แก่ การทำแพทเวิร์ค (Patchwork) และการปรับเปลี่ยนแบบถอดประกอบ (Modular) เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยด้านโอกาสการสวมใส่ โดยใช้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องแต่งกายกลุ่มคอนเชียสไลท์ ประกอบด้วย โครงร่างเงาทรงเอไลน์ (A-line) ทรงตรง (H-line) ทรงระฆัง (Bell-line) และทรงเน้นรูปร่าง (Body Conscious)

References

ปรีดา ศรีสุวรรณ์. (2561). นวัตกรรมแฟชั่นยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิมา สุชินโรจน์ และศิวรี อรัญนารถ. (2566). แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 10(1), 144-162

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

จำเริญพฤกษ์ ภ. . (2024). นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายงานเลี้ยงสังสรรค์ สำหรับกลุ่มคอนเชียสไลท์จากการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าภายใต้แนวคิดโมดูล่าร์ล่า. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 163–177. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.265254