การเข้าไม้แบบจีนโบราณสู่หลักการออกแบบ CMF กับผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • กว่างโจว ลี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รัฐไท พรเจริญ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมจีนโบราณ, การเข้าไม้แบบจีนโบราณ, ผลิตภัณฑ์เกมปริศนา, หลักการ ออกแบบ CMF

บทคัดย่อ

การเข้าไม้ในบทความวิชาการนี้ เป็นรูปแบบโครงสร้างที่สำคัญจากสถาปัตยกรรมจีนโบราณ รวมทั้งเครื่องเรือน เครื่องดนตรีและอื่น ๆ โดยเป็นแนวทางสู่งานหัตถศิลป์ที่สะท้อนภาพลักษณ์ จิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมจีนที่มุ่งเน้นหลักทางกลศาสตร์เป็นสำคัญ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง อย่างไรก็ตามการเข้าไม้นั้นได้เริ่มสูญหายไปจากชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ สำหรับบทความทางวิชาการนี้ ได้ถอดเนื้อหามาจากงานวิจัยเรื่อง การออกแบบทางอารมณ์ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้ใช้จากวัฒนธรรมจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าไม้แบบจีนโบราณ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดยเด่นในเรื่องโครงสร้าง การรับแรงที่รองรับต่อแผ่นดินไหวจนอยู่มาถึงทุกวันนี้โดยมีเสน่ห์ของการเข้าไม้ที่งดงามมีการจัดวางเรียงซ้อนกันขึ้นไป โดยไม่มีการตอกยึดใด ๆ ทั้งสิ้น

สู่แนวทางการออกแบบเริ่มต้นในผลิตภัณฑ์ประเภทชุดประกอบเกมปริศนากับของใช้ที่ระลึก โดยมีการวางแผนสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการออกแบบตามหลักการ CMF เพื่อยกระดับการยอมรับทางด้านการตลาดต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่ใช้โครงสร้างสลักเดือยผ่านเทคโนโลยีการผลิตแบบพิมพ์ขึ้นรูป 3 มิติ เพื่อนำไปสู่การใช้วัสดุที่ยั่งยืนแทนการใช้ไม้จากธรรมชาติ

References

กั๋ว ซีเหมิน. (2014). การชื่นชมเฟอร์นิเจอร์ในราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง: ความสวยงามของการเข้าไม้แบบเดือย, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง.

เฉิน จวินโป, จาง ลี่และ จู เผิง. (2019). อิทธิพลและการประยุกต์ใช้การออกแบบ CMF ในการออกแบบผลิตภัณฑ์, หน้า 108-109.

หยาง ชิงซาน, เกา เชา, หวัง จ้วน และคณะ. (2020). การกระจายความน่าจะเป็นของช่องว่างระหว่างเดือยและรูเจาะของโครงสร้างไม้แบบโบราณ, วารสารไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แห่งชาติยุโรป, 78(1) : หน้า 27-39.

หลิน ลี่, ซ่ง เฮง ซู, และ หมิง ฉาง หม่า และคณะ. (2016). สภาพการณ์ปัจจุบันและอนาคตของงานวิจัยเกี่ยวกับการเชื่อมต่อแบบการเข้าไม้ในโครงสร้างไม้, กลศาสตร์ประยุกต์และวัสดุ, 4278 : 649-654.

หลิว ฟู่หัว. (2016). การสำรวจการออกแบบนวัตกรรมตามโครงสร้างจริยธรรมและหลักการโบราณ, สังคมศาสตร์ล้ำสมัย, 2(7).

หลิว อี้เหวิน, หวง หมิงฟู่, และ หลิว รุ่ย. (2019). หลักสูตรการออกแบบ CMF, สำนักพิมพ์อุตสาหกรรมเคมี.

หวาง เหรินฟู่, หยิน เจียนเว่ย. (2020). โครงสร้างเฟอร์นิเจอร์แบบโบราณของจีนและการประยุกต์ใช้ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2(6).

เหลียงเหมย. (2007). การออกแบบสุนทรียศาสตร์. ปักกิ่ง : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29