การศึกษาสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้

ผู้แต่ง

  • รั่วเชี่ยน หวัง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศุภรา อรุณศรีมรกต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ผกามาศ สุวรรณนิภา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267575

คำสำคัญ:

มณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้, สถาปัตยกรรมดั้งเดิม, สุนทรียภาพ

บทคัดย่อ

พื้นที่มณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของมณฑลฝูเจี้ยนของประเทศจีน ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมทางทะเล ส่งผลให้พื้นที่มณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม แต่เนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของสังคมสมัยใหม่ ทำให้สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมค่อย ๆ เลือนหายไปจากวิถีชีวิตของผู้คน องค์ประกอบทางสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมก็ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยสุนทรียภาพสมัยใหม่ การศึกษาสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เอกลักษณ์ทางศิลปะ ความหมายทางวัฒนธรรม และความสำคัญขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ โดยใช้วิธีการศึกษาทางเอกสารและการสำรวจภาคสนาม จากนั้นทำการรวบรวม บูรณาการ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ ผลการวิจัยพบว่า เอกลักษณ์ทางสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ได้สะท้อนให้เห็นผ่านโครงสร้าง สีสัน จังหวะ รูปทรงของสถาปัตยกรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในการตกแต่ง ทั้งรูปแบบของการตกแต่งและความหมายแฝงในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ซึ่งจากการศึกษาองค์ประกอบด้านสุนทรียภาพเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ และยังเป็นการส่งเสริมการสืบทอดและการพัฒนาวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ให้ดีขึ้นในยุคสมัยใหม่อีกด้วย

References

Cao, C. (2008). Traditional Architecture in Southern Fujian. Fujian People's Publishing House.

Jin, W. (2015). Xiamen Minnan red brick architecture. Shanghai People's Publishing House.

Fang, Q. (2022). Characteristics and aesthetic expansion of architectural aesthetics. Industrial Architecture, 52(3), 1.

Gao, Z. (2004). Aesthetic Perception of Architectural Colors. Oriental Art, 10(2),172.

Yang, M. (2013). Traditional Construction Techniques of Minnan Folk Houses. Anhui Science and Technology Press.

Zheng, H. (2018). Southern Fujian Traditional Architectural Decoration. China Architecture and Architecture Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

หวัง ร., อรุณศรีมรกต ศ., & สุวรรณนิภา ผ. . (2024). การศึกษาสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ . วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 33–48. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.267575