การออกแบบและพัฒนาเถ้าลอยลิกไนต์เป็นคอนกรีตบล็อกปูพื้น

ผู้แต่ง

  • ชัญญานุช แซ่ตั้ง มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • นภาพร วรรณศรี มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • ภัทรชาติ ทูรวัฒน์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.268497

คำสำคัญ:

เถ้าลอยลิกไนต์, คอนกรีตบล็อกปูพื้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเถ้าลอยลิกไนต์เป็นคอนกรีตบล็อกปูพื้น การทดสอบประสิทธิภาพความแข็งแรงของคอนกรีตบล็อกปูพื้นจากเถ้าลอยลิกไนต์ตาม มอก. 2035-2543 และการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเถ้าลอยลิกไนต์เป็นคอนกรีตบล็อกปูพื้นแบบใหม่ วิธีการดำเนินการโดยทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ประเด็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตคอนกรีตบล็อก ผู้จำหน่ายคอนกรีตบล็อก ผู้บริโภค พบว่า ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค เกิดความพึงพอใจต่อการรูปแบบผลิตภัณฑ์แบบธรรมชาติ ได้แก่ ชบา ลีลาวดี ผีเสื้อ ปลา และใบไม้ ด้านความสวยงาม สีของผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม แปลกใหม่ สะดุดตา ด้านความเหมาะสมในการใช้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนและการจัดวาง และประสิทธิภาพความแข็งแรงของคอนกรีตบล็อกปูพื้นจากเถ้าลอยลิกไนต์ ด้านคุณลักษณะการต้านทานแรงอัดและการทดสอบการดูดซึมน้ำ

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2539). การศึกษาศักยภาพการนำเถ้าลอยลิกไนต์มาใช้ประโยชน์. สำนักงานวิจัยและพัฒนา กฟผ.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2542). การจำแนกเถ้าลอยลิกไนต์ที่เหมาะสมจากแม่เมาะมาใช้ในงานคอนกรีต. สำนักงานวิจัยและพัฒนา กฟผ.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2538). หลักการออกแบบ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ คุณาวนากิจ. (2537). คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของขึ้เถ้าลอยลิกไนต์แม่เมาะลำปาง. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

เอนก ศิริพานิชกร. (2536). การพัฒนาคอนกรีตขี้เถ้าลอยแม่เมาะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

แซ่ตั้ง ช. ., วรรณศรี น. ., & ทูรวัฒน์ ภ. . (2024). การออกแบบและพัฒนาเถ้าลอยลิกไนต์เป็นคอนกรีตบล็อกปูพื้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(1), 144–158. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.268497