การใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • รัศมี หลอมประโคน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปรวัน แพทยานนท์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.60101/faraa.2024.269661

คำสำคัญ:

ละครสร้างสรรค์, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ศึกษาผลก่อนและหลังและความพึงพอใจในการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 24 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข  2) กิจกรรมละคร 12 กิจกรรม 3) แบบบันทึกคะแนนพฤติกรรมรายบุคคล  ผลวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว ทั้งหมด 12 กิจกรรม (IOC = 0.83) ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม จำนวน 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวม 12 ชั่วโมง 2. ผลสัมฤทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนหลังจากใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ต่ำกว่าก่อนใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 15.260, df = 23, p = .000) โดยมีคะแนนเฉลี่ยของของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 17.58 และ 9.92 คะแนนตามลำดับ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 และ 2.65 ตามลำดับ) 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว มีความพึงพอใจต่อใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄= 4.92, S = 0.20) โดยด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านผู้ร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถอธิบายพฤกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ได้ ด้านผู้ร่วมกิจกรรม มองเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น และด้านผู้ร่วมกิจกรรม เห็นใจผู้อื่นมากขึ้น ( x̄}= 5.00, S = 0.00) ส่วนด้านที่นักเรียนพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านผู้ร่วมกิจกรรมกล้าแสดงความคิดเห็นและแก้ไข
ปัญหาในเชิงบวกได้อย่างสร้างสรรค์ ( x̄= 4.79, S = 0.41)

References

โกมล ศรีทองสุข. (2560). กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันของเด็กก่อนวัยเรียน [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ติชิลา แสงแก้ว. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชายสมาธิสั้น [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนภรณ์. (2545). การใช้ละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พรพรรณ ผิวผาย. (2561). กิจกรรมละครสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะชีวิตการตระหนักรู้ในตนของเด็กเร่ร่อน ศูนย์เด็กก่อสร้างนานาชาติ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

หลอมประโคน ร., & แพทยานนท์ ป. . (2024). การใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 11(2), 80–90. https://doi.org/10.60101/faraa.2024.269661