เคบายา : วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีบาบ๋าภาคใต้ฝั่งตะวันตกภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คำสำคัญ:
เคบายา, สตรีบาบ๋า, เสื้อย่าหยา, ชาติพันธุ์บาบ๋า, วัฒนธรรมการแต่งกายบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ศึกษาวัฒนธรรมการแต่งกายสตรีบาบ๋าฝั่งตะวันตกทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยผู้เขียนมุ่งศึกษาชุดเคบายา (Kebaya) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่ใช้นวัตกรรมสิ่งทอผสมผสานกับงานหัตถศิลป์และได้รับความนิยมสำหรับสตรีทุกช่วงวัย ลักษณะตัวเสื้อผ่าหน้าตั้งแต่ลำคอถึงริมเสื้อ แขนยาว ปลายเสื้อด้านหน้าแหลมระดับหน้าขา ด้านหลังสั้นระดับสะโพก ใช้เข็มกลัดโกสังชุด (Kerosang) หรือโกสังรันตีย์ (Kerosang Rantey) รั้งสาบเสื้อแทนกระดุม นิยมสวมใส่ในโอกาสสำคัญทางวัฒนธรรมประเพณี
การศึกษาพบว่า ชุดเสื้อเคบายาสำหรับสตรีบาบ๋าในจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา ระนองและภูเก็ตลดทอนลงมาจากการสวมเสื้อคอตั้งและครุยท่อน มี 3 รูปแบบ 1) เคบายาลันดา เป็นเสื้อสมัยแรกเริ่ม ตัดเย็บอย่างหลวมด้วยผ้าป่านหลากสี เนื้อหนามีลวดลาย ตกแต่งปลายแขนและริมเสื้อด้วยลูกไม้หน้ากว้างฉลุลายแบบตะวันตก 2) เคบายาบีกู พัฒนาการช่วงที่ 2 ตัวเสื้อใช้นวัตกรรมเครื่องจักร ในการปักฉลุลวดลายบนเนื้อผ้าและริมขอบเสื้อทั้งตัวด้วยวิธีคัทเวิร์คเป็นเส้นโค้ง 3) เคบายาซูแลม ตัวเสื้อตัดเย็บด้วยผ้าป่านรูเปียร์เนื้อบาง เข้ารูป ฉลุลวดลายริมเสื้อด้านหน้าด้วยวิธีปักร่อนสะดึงเป็นตาข่ายเล็ก ๆ ไปจนถึงปลายแขนเป็นรูปสัตว์มงคล ดอกไม้และพฤกษา ปัจจุบันเสื้อเคบายามีการประยุกต์ใช้ผ้าชนิดต่าง ๆ มาตัดเย็บเพื่อความเหมาะสมกับยุคสมัยและนิยมเรียกว่า “เสื้อย่าหยา” ทั้งนี้สตรีบาบ๋ายังคงนุ่งโสร่งปาเต๊ะเขียนลายด้วยมือตลอดทั้งผืนจากเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย หากมีเทศกาลงานประเพณีสตรีบาบ๋าจะสวมเครื่องประดับชิ้นสำคัญเพื่อบ่งบอกถึงฐานะทางสังคม
References
งามพิศ สัตย์สงวน. (2544). หลักมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). รามาการพิมพ์.
จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2540). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปราณี สกุลพิพัฒน์, ศุภชัย สกุลพิพัฒน์, จักรพันธ์ เชาว์ปรีชา และวณิชา โตวรรณเกษม. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การแต่งกายฃ ของชุมชนบาบ๋าเพอรานากัน. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
มิสแกรนด์ไทยแลนด์. (2561, 28 สิงหาคม). การแต่งกายชุดย่าหยา ชุดพื้นเมืองประจำจังหวัดภูเก็ต. https://www.facebook.com/missgrandthailand?locale=th_
ฤดี ภูมิภูถาวร. (2553). วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต. เวิลด์ออฟเซ็ท พริ้นติ้ง.
วิกรม กรุงแก้ว. (2560). พัสตราภรณ์ยอนหยา. โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าท์
เอนก นาวิกมูล และ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์. (บรรณาธิการ). (2561). สมุดภาพเมืองระนอง. พิมพ์ดี.
Tong Lillian. (2014). Straits Chinese Gold Jewellery. Malaysia: Eastern Printers Sdn Bhd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.