นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด“มนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม”

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ ไชยลังการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดมนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม เป็นชุดการแสดงที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากการศึกษาลงพื้นที่ในชุมชนบางเค็ม ผู้วิจัยเห็นสมควรสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตคนในชุมชนตำบลบ้านบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด“มนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม”และ 3) เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ด้านการขายโดยผ่านชุดการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความน่าสนใจและสร้างแรงจูงใจให้กับพบเห็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานหลัก ได้แก่ เจ้าของบ่อปลาสลิดที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาสลิด 30 ปีขึ้นไป ช่างจักสานและยาหอมวัดกุฎ 30 ปีขึ้นไปเช่นกัน และอาศัยอยู่ในเขตตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงปลาสลิด จักสาน และทำยาหอมที่ขึ้นชื่อ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ โดยผ่านมิติการแสดง ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพแล้วใช้กระบวนการสามเส้าในการตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์มาออกแบบสร้างสรรค์เป็นนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุดมนต์เสน่ห์หัตถศิลป์ ของดีบ้านบางเค็ม เมื่อออกแบบและฝึกซ้อมแล้วจึงนำผลงานเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิวิพากย์และปรับแก้ไขให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า

วิถีชีวิตคนในชุมชนบ้านบางเค็ม ดำรงอาชีพเลี้ยงปลาสลิด จักสานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องที่ โดยรูปแบบการสร้างสรรค์จำแนกการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 หมู่มวลปลาสลิดในยามเช้าความสมบูรณ์ของตัวปลาในบ่อ ต่างออกมาร่ายรำ ช่วงที่ 2 กระบวนการจับปลาสลิด ขั้นตอนการทำปลาขอดเกล็ด ตากปลา เพื่อนำมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และกรรมวิธีในเรื่องของการจักสานจนได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากไม้ไผ่ และหวาย เช่น ตะกร้าหวายช่วงที่ 3 เป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์รวม ของดีบ้านบางเค็ม ใช้ระยะเวลาในการแสดงทั้งสิ้นประมาณ 6 นาที ใช้นักแสดงชาย 4 คน หญิง 8 คน การแต่งกายแต่งกายแบบชาวบ้านเรียบง่าย ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการนำเอกลักษณ์ หรือวิถีอาชีพของท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ในรูปแบบการแสดง ส่งผลดีต่อท้องถิ่นเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สามารถนำชุดการแสดงไปแสดงงานประจำปีของจังหวัดเพชรบุรีและงานอื่นๆ เพื่อให้เห็นถึงคุณค่า เอกลักษณ์ และส่งเสริมยกระดับเศรษฐกิจในชุมชน

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2565, 15 มีนาคม). ข้อมูลทั่วไปและประวัติความเป็นมาของจังหวัดเพชรบุรี. จังหวัดเพชรบุรี. http://www.phetchaburi.go.th/phet2/CODE/main#3

นวลจิตต์ เรืองศรีใส. (2545). การออกแบบลายผ้า. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี สุทธิพันธุ์. (2532). มนุษย์กับจินตนาการ. แสงศิลป์การพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28