การประยุกต์แนวความคิดมาใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสุภาพสตรี
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.270011คำสำคัญ:
แนวความคิด , การประยุกต์, กระเป๋าสุภาพสตรีบทคัดย่อ
การประยุกต์แนวความคิดมาใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสุภาพสตรีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบในการสร้างสรรค์กระเป๋าสุภาพสตรีที่สวยงามและมีคุณค่า โดยเน้นการใช้สัดส่วนทองและหลักการองค์ประกอบศิลป์ กระบวนการประกอบด้วยหลายขั้นตอนดังนี้
- การศึกษาทฤษฎีและแนวคิด การรวบรวมและวิเคราะห์ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสัดส่วนทองและองค์ประกอบศิลป์
- การวิเคราะห์ตัวอย่างกระเป๋า การศึกษารูปแบบ ขนาดสัดส่วน รูปทรง และลวดลายของกระเป๋าสุภาพสตรีที่มีอยู่ในตลาดจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ 1) กระเป๋าเป้สะพายหลัง 2) กระเป๋าถือ
3) กระเป๋าสะพายข้างเพื่อเก็บเอกสาร 4) กระเป๋าแบบใช้สะพายไหล่ 5) กระเป๋าสำหรับเดินเล่น
6) กระเป๋าทรงถุง 7) กระเป๋าทรงพระจันทร์เสี้ยว - การถอดรหัสแนวคิดในการออกแบบกระเป๋า ตามแนวคิดและทฤษฎี สไตล์ เทรนด์ เป็นตัวอย่างการทดลองให้เห็นกระบวนการออกแบบนำมาสู่ ความสวยงาม ความสมมาตร ความน่าดึงดูดใจ ที่เกิดจากการถอดรหัสแนวคิด
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การประยุกต์ใช้สัดส่วนทองและหลักการองค์ประกอบศิลป์ เป็นแนวคิดที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสุภาพสตรี ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและตลาด กระบวนการนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและให้เกิดมิติในการจัดวาง ความกว้าง ความสูง ความลึก หูหิ้ว รูปร่าง รูปทรง จะเน้นไปที่ความสมมาตร มีความโดดเด่น สร้างคุณค่า มีรูปแบบที่สวยงาม มีสไตล์ ทำให้ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสุภาพสตรีตรงตามจุดประสงค์ของบุคลิกกระเป๋าที่แตกต่างกัน
References
คมสัน เรืองโกศล. (2561). แนวคิดทางการออกแบบ. โอ. เอส. พริ๊นติ้ง เฮาส์ จำกัด.
คมสัน เรืองโกศล และคณะ. (2554). โครงการวิจัย การศึกษารูปแบบการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีประเภทเครื่องหนัง และหนังเทียม. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ. ไทยวัฒนาพานิช.
ณัฐพันธุ์ ศุภกา. (2553, 7 สิงหาคม). ฟี (Phi) อัตราส่วนทองคำ (Golden ratio). มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา. https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=spiral&month=08-2010&date=07&group=22&gblog=47
Huntley, H.E. (1970). The Divine Proportion: A Study in Mathematical Beauty. Dover Publications, New York.
Livio, M. (2002). The Golden Ratio: The Story of Phi, the World's Most Astonishing Number. Broadway Books, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.