ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม “เริ่มต้น-ความสุข”
DOI:
https://doi.org/10.60101/faraa.2024.270065คำสำคัญ:
ประติมากรรม“เริ่มต้น-ความสุข”, ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
ในปัจจุบันศิลปะที่อยู่ร่วมกับพื้นที่สาธารณะหรือสิ่งแวดล้อม ยังอยู่ในลักษณะที่ได้รับการส่งเสริมให้ความสำคัญน้อยมาก ซึ่งศิลปะประเภทประติมากรรมนั้นสามารถมีบทบาทอย่างมากต่อภูมิทัศน์ ก่อเกิดคุณค่าทางความงามและความหมายทางด้านศิลปะ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเรื่องของสภาพแวดล้อมโดยใช้องค์ความรู้ทางด้านศิลปะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการได้ การวิจัยในโครงการครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและสร้างสรรค์งานประติมากรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ และมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยกำหนดพื้นที่เบื้องต้นบริเวณคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นพื้นที่ดำเนินการวิจัย ผลงานดังกล่าวได้ศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดที่สื่อแสดงชัดเจนในเรื่องของการเกิด ความเบิกบาน จากรูปทรงของผีเสื้อและลวดลายสีสันจากธรรมชาติ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยหลักทฤษฎีศิลปะและข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลของการวิเคราะห์งานวิจัยสร้างสรรค์จากผลงานประติมากรรม “เริ่มต้น-ความสุข”ดังกล่าวนี้เป็นแนวทางในการบูรณาการศาสตร์ทางศิลปะกับสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางสู่การพัฒนาคลี่คลายเรื่องราวทางประติมากรรมสู่ผู้คนให้รับรู้และเข้าใจประติมากรรมได้มากขึ้น
References
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. ไทยวัฒนาพานิช.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่9). สำนักพิมพ์อมรินทร์.
ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี. (2557). รูปแบบของประติมากรรม การประกวดประติมากรรมของศุภาลัยประจำปี 2557 ในวาระครบรอบ 25 ปี ศุภาลัย จำกัด(มหาชน)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.