มิติใหม่แห่งการพัฒนาบทบัญญัติกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้กิจกรรมการดำน้ำลึกในทะเลใต้

Main Article Content

ณัชชา สุขะวัธนกุล

Abstract

           อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีความแตกต่างกันในการท่องเที่ยวแต่ละประเภทด้วยลักษณะของวัตถุประสงค์และความนิยมการท่องเที่ยวในแต่ละยุคสมัย อาทิเช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและความเชื่อ และการท่องเที่ยวทางน้ำในบทความฉบับนี้มุ่งเน้นการพิจารณาแนวโน้มกฎหมายที่จะเข้ามากำกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำในส่วนของการดำน้ำลึกและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากปัญหาที่แฝงอยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำลึกในมิติของสิ่งแวดล้อมถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ในสายตาของประชาคมโลกและจากเวทีนานาชาติ แม้ว่าจะมีการพยายามหาช่องทางแก้ไขและได้รับการเยียวยาในระดับหนึ่งก็ตามจากช่องทางการรณรงค์รวมถึงการขอความร่วมมือและปลูกฝังจิตสำนึก


            ในปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการดำน้ำลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลใต้ทั้งสองฝั่งทะเลด้วยปัจจัยความสวยงามของธรรมชาติใต้ทะเลประกอบกับการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์ผ่านศิลปิน นักแสดงทำให้กิจกรรมดำน้ำลึกได้รับความนิยมและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ทั้งนี้การบริหารจัดการท่องเที่ยวดำน้ำลึกที่ภาครัฐได้ปรับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวลงแต่ยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายในเรื่องการตีความบทบัญญัติดังกล่าวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอยู่บ่อยครั้ง และช่องว่างของกฎหมายไทยนี้เองเป็นเหตุให้เกิดจุดอ่อนที่นำไปสู่ปัญหาความลักลั่นของหน่วยงานที่จะเข้ามาบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย


          ทั้งนี้ประเทศไทยยังคงไม่มีการกำหนดให้ประเด็นความผิดอันเกิดจากการท่องเที่ยวดำน้ำลึกเป็นบทบัญญัติหรือมีบทลงโทษตามกฎหมายเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด คงมีแต่เพียงร่างพระราชบัญญัติในประเด็นใกล้เคียงซึ่งยังมิได้มีผลบังคับใช้ อาจกล่าวได้ว่าจากการศึกษาวิจัยพบว่าในปัจจุบันนานาประเทศรวมไปถึงองค์การระหว่างประเทศต่างๆได้พยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันหรือการทำกลยุทธ์และนโยบายระหว่างหน่วยงานเพื่อจะแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวผลลัพธ์ที่อาจคาดหวังได้คือบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อการควบคุมและป้องปรามการทำผิดกฎหมายอันเป็นที่มาของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำน้ำ


           เป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดของแต่ละหน่วยงานในการริเริ่มทบทวนบทบัญญัติซึ่งมีบังคับใช้อยู่และในการปรับใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวเข้ากับบทบัญญัติกับหน่วยงานอื่นอย่างมีประสิทธิผล หากมาตรการดังกล่าวมีความทับซ้อนกันและดุลยพินิจของแต่ละหน่วยงานยังคงสร้างความแตกต่างในมาตรฐานการตีความกฎหมายซึ่งควบคุมการท่องเที่ยวดำน้ำลึก ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงกฎหมายรวมถึงแนวนโยบายที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจุดประกายการอุดช่องว่างแห่งโอกาสในการทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนความคาดหวังในอนาคตต่อการจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อปัญหาที่เกิดขึ้นไว้อยู่ในบทความฉบับนี้จากการนำตัวอย่างของกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับการดำน้ำลึกและสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศมาเปรียบเทียบและปรับใช้ อีกทั้งหากแนวโน้มของการละเมิดต่อกฎหมายมีทิศทางที่ดีขึ้นอาจยังผลให้อัตราการท่องเที่ยวดำน้ำลึกในทะเลใต้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อย่างยั่งยืน

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

บรรณานุกรม
บริษัท แบรนด์ เมทริกซ์ รีเสิร์ช จํากัด, โครงการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มด้านการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำ [Online], available URL: http://www.atta.or.th/?p=3160 , 2020 (November, 9).
D. Medio, R.F.G. Ormond & M. Pearson, Effect of Briefings on Rates of Damage to Corals by Scuba Divers, Amsterdam: Elsevier, 1997).
Diveadvisor, Scuba Diving in the USA [Online], available URL: http://diveadvisor.com/united-states ,2021 (January, 17).
etatjournal, การท่องเที่ยวประเภทดำน้ำลึก [Online], available URL: http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2021/menu-2021-apr-ju/64-22555-diving ,2021 (January, 17).
Hawkins, J.P., C.M. Roberts, T. VantHof, K. deMeyer, J. Tratalos, and C. Aldam., Effects of recreational scuba diving on coral and fish communities, Conservation Biology 13, 4 (2019).
Manoj Shivlani, A Literature Review of Sources and Effects of Non-extractive Stressors to Coral Reef Ecosystems, (Miami: Rosenstiel School of Atmospheric and Marine Science University of Miami).
Mine Melody, แนะนำ 10 แหล่งดำน้ำ อ่าวไทย-อันดามัน ดูปะการัง ว่ายน้ำไปกับปลา [Online], available URL: https://bestreview.asia/travel/gulf-of-thailand-and-andaman-for-dive-sites/ ,2021 (January, 17).
Nithan Pholniwat, Plead for the Government to Organize the Diving Business, Thansathakij (May,9 2012).
Orams, M.B.,Feeding wildlife as a tourism attraction: a review of issues and impacts. Tourism Management 23, 3 (2020).
Padi, Diving Thailand [Online], available URL: http://www.padi.com/scuba-diving/scuba-divingtravel/vacation -spotlights/thailand/ ,2018 (November, 16).
Panwad Wongthong and Nick Harvey, Integrated Coastal Management and Sustainable Tourism: A Case Study of the Reef-Based SCUBA Dive Industry from Thailand, 95 Ocean & Coastal Management.
Paul Lees, The Dive Sites of Thailand, Pocket Guide Dive Thailand Including the Mergui Archipel Ago [Online], available URL: https://issuu.com/diveguidethailand/docs/pocket-guide-dive-thailand-2011-edition 2020 (November, 9).
Reefresilience, ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ [Online], available URL: https://reefresilience.org/th/stressors/local-stressors/coral-reefs-tourism-and-recreational-impacts/2018 ,2021 (January, 17).
Rodgers, K., E. Cox, and C. Newtson, Effects of mechanical fracturing and experimental trampling on corals. Environmental Management (31: 2020).
Rodgers, K.S. and E.F. Cox., The effects of trampling on corals along a gradient of human use, Biological Conservation 112, 3 (2018).
Sharkey, P.; Austin, L., Federal Regulation of Scientific Diving: Two Scientific Divers' Perspective, Proceedings OCEANS '83 (1983).
Thaiwaysmagazine, Top Dive Sites in Thailand [Online], available URL: http://www.thaiwaysmagazine.com/thai_article/31_ 01_top_dive/top_dive.html ,2018 (November, 5)