การละเมิดพุทธวินัยบัญญัติของพระภิกษุที่ส่งผลกระทบต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505: ศึกษากรณีกระทำความผิดอาญา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กรณีพระภิกษุกระทำละเมิดพระวินัยและเป็นความผิดทางอาญาด้วย พระภิกษุนั้นอาจต้องสละสมณเพศเมื่อมีผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505โดยเป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระวินัยปิฎก พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 คำอธิบายกฎหมายอาญา แหล่งความรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สรุปผลการศึกษา
เมื่อผู้วิจัยทำการศึกษาพระวินัยทั้งสิ้น 227 สิกขาบท พบว่า มีพระวินัยจำนวน 24 สิกขาบท ได้แก่ อาบัติปาราชิก 4, อาบัติสังฆาทิเสส 2, อาบัติอนิยต 2, และอาบัติปาจิตตีย์ 16 ที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญา ปรากฏตามประมวลกฎหมายอาญาจำนวน 16 มาตรา ได้แก่ มาตรา 276, 278, 279, 288, 326, 334,341, 358, 359, 378, 389, 390, 391, 392, 393, 397 มาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484และมาตรา 20 ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะดังต่อไปนี้ การที่พระภิกษุต้องสละสมณเพศเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505หาใช่เป็นวิธีลาสิกขาด้วยความสมัครใจไม่เพื่อเป็นการป้องกัน และเกิดความตระหนักแก่พระภิกษุมิให้ต้องโทษจนถูกสละสมณเพศในลักษณะดังกล่าว คณะสงฆ์และหน่วยงานที่รับผิดชอบควรส่งเสริมให้พระภิกษุได้ศึกษาพระวินัย ประกอบกับกฎหมายที่มีโทษทางอาญาที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505อีกทั้งควรนำพระวินัยจำนวน 24 สิกขาบทไปออกข้อสอบนักธรรมสนามหลวงของพระภิกษุในแต่ละชั้นปี ตามความเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คทาวุธ วีระวงษ์, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พ.ศ. ๒๕๕๔.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๔๙/๒๕๕๐.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๙๙/๒๕๑๙
จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. เนติบัณฑิตยสภา. นนทบุรี: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง, พ.ศ. ๒๕๕๕.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, “คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ”, พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, พ.ศ. ๒๕๕๙. หน้า ๔๓๓.
นภดล พลกูล. สัมมนากฎหมายอาญา, ชลบุรี: สัตตะบรรณ, พ.ศ. ๒๕๕๗.
ประมวลกฎหมายอาญา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๓๙.
. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒, กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๓๙.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สหรัฐ กิติ ศุภการ. หลักคำพิพากษา : กฎหมายอาญา, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง, พ.ศ. ๒๕๖๓.
สุชาดา ศรีใหม่, ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์. (๒๕๖๐) “พระภิกษุยักยอกทรัพย์ : ศึกษาความรับผิดทางอาญา และอาบัติตามพระวินัย” วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน
แสวง อุดมศรี. พระวินัยปิฏก ๑ ว่าด้วยมหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์, กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง, พ.ศ. ๒๕๔๖.
https://www.matichon.co.th/region/news_๒๗๐๔๘๙๐ สุด! พระต้งวงซดเหล้าเมาได้ที่ตีกันยับ หน้าแหก เลือดอาบ ขับรถหนีผิด-แอลกอฮอล์สูงปริ๊ด วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔