ปัญหาความเหมาะสมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอพิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีผลกระทบต่อผู้ถูกกล่าวหา

Main Article Content

กานต์ชนก จูฑะศรี

Abstract

           ปัญหาความเหมาะสมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอพิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีผลกระทบต่อผู้ถูกกล่าวหาในการดำเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันอันเป็นบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของข้าราชการซึ่งถูกลงโทษทางวินัยตามมติชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่ง พบว่า หลักเกณฑ์ ขั้นตอน ยังขาดมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญหลายประการที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ และเป็นการจำกัดดุลยพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ นอกจากนี้ยังเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยใหม่ได้อีก ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการรับฟังผู้ถูกกระทบสิทธิ และไม่สอดรับกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง บทความนี้มุ่งนำเสนอเพื่อให้เห็นว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยการเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของหลักเกณฑ์การขอทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และปรับปรุงแก้ไข โดยให้สิทธิแก่ผู้ถูกกล่าวหาในการขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยใหม่ได้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2554.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.

จิรนิติ หะวานนท์. คําอธิบายกฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป). กรุงเทพมหานคร: สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2556.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. คําอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2558.

______. คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ และคณะร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.รายงานการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการทุจริตเชิงนโยบาย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2555.

นันทวัฒน์ บรมนานันท์. กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

นันทวัฒน์ รัฐนันท์ เนื้อนิ่ม. “ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบคำสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ตุลาคม 2560.

ฤทัย หงส์สิริ. ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 8. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2561.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน.

_______. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.

วิษณุ เครืองาม. ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.

สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน

สมฤทธิ์ ไชยวงค์. “หลักนิติธรรมการคุ้มครองหลักนิติธรรมโดยศาลรัฐธรรมนูญ.” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 15, 45 (กันยายน-ธันวาคม 2556).

อุดม รัฐอมฤต และคณะ. โครงการศึกษาความเหมาะสมในการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2555.

The European Convention on Human Rights. The Convention in 1950 [Online]. Available URL: https://www.coe.int/en/web/human-rights-convention/the-convention-in-1950, 2023 (February, 20).