การศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเรา

Main Article Content

ปัณณวิช ทัพภวิมล และคณะ

บทคัดย่อ

           การศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเรา เป็นศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทย และการเปรียบเทียบกฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และเครือรัฐออสเตรเลีย โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมตามเขตพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้


           ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยมีการกำหนดให้การกระทำที่เป็นการข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาไว้ตั้งแต่มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และมีการปรับปรุงบทบัญญัติต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยพบว่าปัญหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเพศนั้นควรมีความชัดเจนใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดฐานความผิด 2) การกำหนดบทที่ต้องทำให้รับโทษหนักขึ้น และ 3) การกำหนดมาตรการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดฐานกระทำชำเรา นอกจากนี้ บทบัญญัติของกฎหมายในต่างประเทศ ควรถูกนำมาพิจารณามาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

หอสมุดรัฐสภา. รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ [Online]. Available URL: https://library.parliament.go.th/th/house-representatives-documents, 2564 (พฤษภาคม, 1).

คณพล จันทน์หอม. “วิเคราะห์กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127: ศึกษากระบวนการร่างกฎหมายและประเด็นความรับผิดในทางอาญา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

ฐิติพร เหล่าอิสริยกุล. “ความรับผิดโดยเคร่งครัดกับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและกระทำอนาจาร.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

ณัฐวรรณ ดวงกางใต้. “ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา: ศึกษาขอบเขตของการให้ความยินยอมโดยผู้เสียหาย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2558.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและภาคลหุโทษ. พิมพ์ครั้งที่ 16 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561

ปรินดา เวทพิสัย. “ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาองค์ประกอบความผิดกรณีผู้ถูกกระทำ.” สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

พรรณนิภา ปราบปราม. “มาตรการบังคับทางอาญาที่เหมาะสม ศึกษากรณีการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2563.

วีระวัฒน์ ปวราจารย์. ร่วมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 74 ปีการศึกษา 2564 เล่ม 16. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา, 2564.

สุขุมา อรุณจิต และวุฒิพล มั่นเหมาะ. ปัญหาการเกิดอาชญากรรมทางเพศและแนวทางป้องกันอาชญากรรมทางเพศตามทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม [Online]. Available URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/download/185415/130386/, 2564 (สิงหาคม, 19).

อร จันทนาอรพินท์. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเหตุฉกรรจ์ ในการกระทำความผิดทางเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ศึกษากรณีเป็นการกระทำแก่สมาชิกในครอบครัว.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2562.

Aeizona State Legislature. Title 13 - Criminal Code [Online]. Available URL: https://www.azleg.gov/arsDetail/?title=13, 2021 (November, 9).

California Legislative Information. California Penal Code [Online]. Available URL: https://leginfo.legislature.ca.gov/faces/codesTOCSelected.xhtml?tocCode=PEN, 2021 (November, 9).

Illinois Gerneral Assembly. Criminal Offense (720 ILCS 5/) Criminal Code of 2012 [Online]. Available URL: https://www.ilga.gov/legislation/ilcs/ilcs3.asp? ChapterID=53&ActID=1876, 2021 (November, 9).

New York State Senate. New York Penal Code [Online]. Available URL: https://www. nysenate.gov/legislation/laws/PEN/P3THA130, 2021 (November, 9).