จิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้พัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย

Main Article Content

มงคล เจริญจิตต์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร เพื่อศึกษาแนวคิดจิตวิญญาณประชาชนตามแนวคิดสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ และค้นหาข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ลักษณะจิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน จากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ บทความวิจัย รัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาศาล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


           แนวคิดจิตวิญญาณประชาชนตามสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนในชาติ ที่เติบโตเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของสังคม ซึ่งส่งผลสำคัญต่อกระบวนการบัญญัติกฎหมาย โดยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายของประชาชน 2) สำนึกร่วมของประชาชน 3) แบบแผนและพฤติกรรมของประชาชน และ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชน


           ข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เมื่อพิจารณาตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่กำหนดสิทธิไว้ทั้งสิ้น 28 ข้อ พบว่า จากรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ ปรากฏสูงสุด 27 ข้อ ปรากฏบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี พ.ศ. 2475 แต่เริ่มคุ้มครองกว้างขวางในฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492 และครอบคลุมที่สุดในฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540, ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560 โดยไม่เคยปรากฏสิทธิของผู้ลี้ภัยเลย แต่ปรากฏการคุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนาเสมอ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญในช่วงปฏิวัติหรือรัฐประหารแทบไม่ปรากฏเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน


           จากคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และศาลฎีกา พบว่า ในช่วงแรกศาลรัฐธรรมนูญไม่ค่อยวินิจฉัยในทิศทางที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเท่าใดนัก แต่ภายหลังมีการวินิจฉัยอ้างอิงหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ส่วนศาลปกครองสูงสุด มักพิพากษาว่าการดำเนินการทางปกครองชอบด้วยกฎหมายหากดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอน แม้อาจจะมีลักษณะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน สำหรับศาลฎีกาไม่ค่อยปรากฏการพิพากษาเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยจะวินิจฉัยตามเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเท่านั้น


          จิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้พัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย พบว่า ได้มีการก่อร่างสร้างตัวขึ้นที่ละเล็กทีละน้อยในรัฐธรรมนูญ แต่ในช่วงแรกไม่ค่อยยืนยันถึงสิทธิมนุษยชน และพัฒนาจนมีการนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยการเปลี่ยนแปลงถึง 20 ฉบับ ทำให้เนื้อหาแห่งสิทธิไม่มีความมั่นคง ขาดความชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง และไม่ถูกยืนยันอย่างแท้จริง ปรากฏเนื้อหาที่ให้อำนาจรัฐจำกัดสิทธิของบุคคลได้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ประชาชนมีการรับรู้ซึ่งสิทธิมนุษยชน แต่การคุ้มครองยังไม่เกิดขึ้นอย่างจริงจังแท้จริงในกระบวนการยุติธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์. “สิทธิและเสรีภาพของประชาชนความคุ้มครองที่อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายและกฎ.” ใน รวมบทความทางวิชาการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 12 ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2565: 1-35

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา : Legal Philosophy. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

ชาย ไชยชิต. “การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ มุมมองของการศึกษาเปรียบเทียบ.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า (มกราคม-เมษายน 2565): 5-30.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. “ทำไมคนไทยไม่เคารพกฎหมาย.” วารสารนิติสังคมศาสตร์ 59, 1 (2555): 41-63.

บท นามบุตร. ศาลรัฐธรรมนูญครบรอบ 24 ปี 11 เมษายน 2565 [Online]. Available URL: https://occ_th.constitutionalcourt.or.th/detail/ศาลรัฐธรรมนูญครบรอบ--24--ปี--11--เมษายน--2565, (มีนาคม, 25).

ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์. สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ ศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยกับสังคมนิยม. รายงานการวิจัยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2563).

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. “สิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญไทย.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า (กันยายน-ธันวาคม 2565: 134-155.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. “วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบง และหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.” วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 31, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2557): 63-69.

ศูนย์ศึกษาประชาธิปไตย. หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย [Online]. Available URL: http://www.ect.go.th/dec/ewt_news.php?nid=71&filename=index, 2566 (มกราคม 2566).

สกล หาญสุทธิวารินทร์. “สิทธิมนุษยชนและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป.” ใน รวมบทความทางวิชาการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 12 ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2565: 341-355.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. “หลักความเสมอภาคตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 1, 1 (ฉบับปฐมฤกษ์ 2546): 30-52.

สากล พรหมสถิต. “เสรีภาพในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560.” รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561 (2561): 1056-1076.

สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย. “พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.” ใน รวมบทความทางวิชาการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 12 ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2565: 428-453.

อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย. “การประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยองค์กรตุลาการ.” วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 16, 2 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562): 27-34.

อำนาจ มงคลสืบสกุล. “พัฒนาการสิทธิมนุษยชนไทย และการเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ.” วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย 1, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 56-74.

Baldwin, Oliver. “A Spaniard in essence: Seneca and the Spanish Volksgeist.” International Journal of the Classical Tradition 28 (2021). 335–352.

Chen, Yun-Ru. “Family Law as a Repository of Volksgeist: The Germany-Japan Genealogy.” Comparative Law Review 4, 2 (2013): 1-34.

Elliott, Frank W. “Volksgeist and a Piece of Sulphur.” Texas Law Review 42 (1964): 817-834.

Lefkowitz, David. “The Duty to Obey the Law.” Philosophy Faculty Publications 64 [Online]. Available URL: http://scholarship.richmond.edu/philosophy-faculty-publications/64, 2006 (November, 20).

Lerner, Renée Lettow. “The Second Amendment and the Spirit of the People.” Harvard Journal of Law & Public Policy 43, 2 (2020): 319-329.

Munger, Frank. “Constitutional Reform, Legal Consciousness, and Citizen Participation in Thailand.” Cornell International Law Journal 40, 2 (Spring 2007): 455-475.

Rahmatian, Andreas. “Friedrich Carl von Savigny’s Beruf and Volksgeistlehre.” The Journal of Legal History 28, 1 (2007): 1–29.