การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

Wasana Lertmalao
Thepasak Boonyarataphan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างกันของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏต่อระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) เสนอแนะแนวทาง
การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง ประชากร 8,339 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน คำนวณโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้แทนมหาวิทยาลัย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t–test, One Way ANOVA, การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (2) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีความแตกต่างกัน (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ปัจจัยด้านสมรรถนะ ปัจจัยด้านการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีอิทธิพลต่อระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (4) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้เข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะหลักและสมรรถนะในงาน สร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และรับทราบทิศทางองค์การ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ควรบริหารงานโดยมุ่งเน้นเป้าหมายขององค์การ และหาแนวทางแก้ไขการบริหารงานที่ขาดความต่อเนื่องกรณีเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

Article Details

How to Cite
Lertmalao, W., & Boonyarataphan, T. (2018). การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 209–248. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/112710
บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร ราชแพทยาคม. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารราชการไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารราชการไทย. (น. 29-30). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนิดา ยุวบูรณ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (รายงานดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2557). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการบริหารงานภาครัฐ. (น. 237-247). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทพศักดิ์ บุญรัตพันธุ์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคสังคม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์. (น. 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

______. (2553). นโยบายสาธารณะกับการวางแผนยุทธศาสตร์. ใน เอกสารนโยบายสาธารณะ. (น. 4-6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำและเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทเซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส จำกัด.

ภัทรวดี ชวนบุญ. (2555). การศึกษาการพัฒนาศักยภาพองค์การเพื่อความเป็นเลิศของเทศบาลนครอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล.

รักเกียรติ หงษ์ทอง, วัชระ ยาคุณ, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, และพรสรร โรจนพานิช. (2558). ประสิทธิผลขององค์การกับตัวแบบภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏตะวันตก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(29), 71-86.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. การจัดการสมัยใหม่, 6(2), 13.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: อินทภาษ.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2554). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

สถาบันพระปกเกล้า. (2554). การบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2554. (รายงานการวิจัยปริญญามหาบัณฑิต), สถาบันพระปกเกล้า.

สุภาภรณ์ ธานี. (2553). กลยุทธ์การนำองค์การสู่ความเป็นเลิศของ เทศบาลตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547). แนวทางการประเมินระบบบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: กลุ่มโรงพิมพ์สำนักบริหารกลาง.

______. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

______. (2552). ความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2549). แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรม คุณธรรมและการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ข้าราชการ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

______. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

______. (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย จำกัด.

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2558). บันทึกราชภัฏ 2558. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์ จำกัด.

อภิญญา ขัดมะโน. (2551). การศึกษาการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.