การสะท้อนเชิงสัญวิทยาของสติกเกอร์ที่ใช้ในไลน์แอปพลิเคชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยการสะท้อนเชิงสัญวิทยาของสติกเกอร์ที่ใช้ในไลน์แอปพลิเคชันมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาการใช้สติกเกอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในไลน์แอปพลิเคชัน และเพื่อศึกษาภาพสะท้อนเชิงสัญวิทยาอันได้แก่ความสัมพันธ์และระดับความสนิทสนมระหว่างผู้ส่งและผู้รับ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลรูปถ่ายบทสนทนาที่ปรากฏบนโทรศัพท์มือถือ (Screenshot) จำนวน 152 รูป จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 25 คน โดยกลุ่มตัวอย่างระบุประเภทของความสัมพันธ์ของตนเองกับคู่สนทนาซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคู่รัก กลุ่มครอบครัว กลุ่มญาติ กลุ่มเพื่อนร่วมงาน และกลุ่มเพื่อน รวมถึงระบุระดับความสนิทสนมของตนเองกับคู่สนทนา โดยแบ่งออกเป็น 10 ระดับ ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการประมวณผลข้อมูล โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficiency) ผลการศึกษาพบว่าแม้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันของตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (r = 0.312, p < 0.05) แต่มีลักษณะเป็นเส้นตรงในเชิงบวก ตัวแปรทั้งสอง ได้แก่ ความสนิทสนมของคู่สนทนาและการใช้สติกเกอร์ในไลน์แอปพลิเคชันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig 0.027, Sig < 0.05) ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีสัญวิทยาของชาร์ลส์ ซานเดอร์ เพิร์ซ ผลการศึกษาพบว่าการตีความความหมายของสติกเกอร์นั้นเกิดจากรูปแบบความสัมพันธ์ 3 ส่วน คือ สื่อกลางที่เป็นตัวนำความคิดไปสู่จิตใจของผู้รับ (Representamen) วัตถุอ้างอิง (Object) และ ความคิดที่แปลได้จากสัญญะ (Interpretant) ในศึกษาการตีความหมายของสติกเกอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารในไลน์แอปพลิเคชัน จากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ใช้สติกเกอร์เพื่อเติมเต็มความต้องการในการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ใช้ เนื่องจากรูปสติกเกอร์สามารถเลียนแบบการกระทำต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ออนไลน์ ซึ่งแตกต่างจากการใช้อีโมจิ (Emojis) นอกจากนี้ ผู้ส่งข้อความมีความเฉพาะเจาะจงใช้สติกเกอร์กับคู่สนทนาที่เฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น สติกเกอร์ที่แสดงออกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม เช่น การกอด การจูบ มักจะใช้กับคู่สนทนาที่อยู่ในกลุ่มคู่รัก สติกเกอร์ที่เลียนแบบท่าทางตลกขบขัน มักจะใช้กับคู่สนทนาที่อยู่ในกลุ่มครอบครัว และ กลุ่มเพื่อน ด้วยเหตุนี้ การใช้สติกเกอร์ในแอปพลิเคชันไลน์จึงไม่เพียงสื่อความหมายโดยตรง ตามตัวของสติกเกอร์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความหมายในเชิงสัญวิทยา อันได้แก่ความสัมพันธ์และระดับความสนิทสนมระหว่างผู้ส่งและผู้รับอีกด้วย
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความและข้อมูล ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
LINE STORE. (n.d.). Official Stickers. Retrieved September 3, 2017, from https://store.line.me/stickershop/home/general/th
Barnes, S. (2002). Computer-mediated Communication. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Chandler, D. (n.d.). Semiotic and Semiology. Retrieved March 10, 2017, from https://map.sdsu.edu/geog581/week-08.htm
Chislett, D. (2019). What are the Oldest Languages on Earth?. Retrieved October 25, 2018, from https://taleninstituut.nl/en/what-are-the-oldest-languages-on-earth/
Danesi, M. (2017). The semiotics of Emoji. London: Bloomsbury.
Derks, D., Bos, A., & Grumbkow, J. V. (2007). Emoticons and Online Message Interpretation. Social Science Computer Review, 26(3), 379-388. doi: 10.1177/0894439307311611
Hinkle, D., Wiersma, W., & Jurs, S. (1998). Basic Behavioral Statistics. Illinois: Rand McNally College.
iEmoji. (2018). Lookup, Convert, and Get Emoji!. Retrieved May 15, 2017, from https://www.iemoji.com/
Nöth, W. (1990). Handbook of Semiotics. Bloomington: Indiana University Press.